Power Plant

เมืองแห่งหัวใจรักสิ่งแวดล้อม – กรุง Stockholm

ความเข้มข้นของสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศสวีเดน ก่อกำเนิดมานานพอสมควร และปัจจุบันจากเด็กอายุ 10-20 ปีที่เป็นแฟนคลับน้อง Greta ก็จะจับตาสังเกตผู้ใหญ่มากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น คนรุ่นใหม่หลายคนไม่อยากก่อคาร์บอนด้วยการนั่งเครื่องบินมาเที่ยวประเทศที่ไม่รักษาสิ่งแวดล้อม เพราะเกรงว่าการเที่ยวของตนเองจะสร้างมลภาวะมากขึ้น Blog นี้รวบรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมากมายในหลายเมืองของประเทศสวีเดน

ประเมินประสิทธิภาพพลังงานของโครงการโรงไฟฟ้า

สรุปคอนเซ็ปต์การประเมินประสิทธิภาพพลังงานของ โครงการ หรือ กิจกรรมใดใด ในโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของแนวคิดให้ถูกต้อง โดยมีจุดเริ่มต้นจาก ประเมินปริมาณการใช้พลังงานภาพรวมของแต่ละระดับก่อน (Baseline) ถัดมาเมื่อมีการดำเนินโครงการแล้วจึงได้ปริมาณการใช้พลังงานซึ่งอาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นจาก Baseline ก็เป็นได้ นั่นแสดงถึง Output ของโครงการ/กิจกรรมว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และเมื่อได้ผลการลดการใช้พลังงานแล้ว จึงค่อยต่อยอดการลดก๊าซ CO2e ต่อไป

ถ่านหินสะอาดมาแรง! บทสรุปเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าคู่สิ่งแวดล้อมทศวรรษนี้

โรงไฟฟ้าปัจจุบันที่ต้องคำนึงถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การลดมลภาวะ SOx NOx รวมถึง CO2 นั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คือ วิธีการที่ใช้ได้เชิงพาณิชย์ และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ในอนาคตอันใกล้นี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาเทคโนโลยี Combustion และ Gasification อีกด้วย

Power Engineering Magazine อัพเดท

โรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างใหม่ในอเมริกา ต้องปล่อย CO2 ไม่เกิน 1,100 pounds/MWh คือ โรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำตามมาตรฐานเท่านี้ได้ ต้องเพิ่มระบบดักจับและกักเก็บ CO2 (Carbon Capture and Storage) ด้วย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงธุรกิจ

ประหยัดไฟฟ้า-Energy Efficiency-ช่วยญี่ปุ่นรอดวิกฤตไฟฟ้า

มีรายการทีวีทุกเช้า “Electricity forcast” ประกาศ พีคโหลดคาดการณ์รายวัน และแสดง maximum utilization factor ให้เห็นทั้งประเทศ การคาดการณ์โรงไฟฟ้าประเภทอื่นที่จะเข้ามาทดแทน Capacity ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่หายไป 38 จากทั้งหมด 54 Reactors ทั่วประเทศ ทำให้การวางแผนถึงปี 2012 ลงทุนเพิ่มโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง Fossil สูงขึ้นถึง 45% นั่นคือ ส่งผลถึงค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายสูงขึ้น 18% และ 36% สำหรับบ้านเรือน และภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(2): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

เหตุการณ์ ณ ตอนน้ำท่วมเมื่อพิจารณากับลักษณะของพีค มีสิ่งที่น่าสนใจคือ

+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. ปริมาณพีคคงไม่สูงสุด
+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเวลาพีค ปริมาณพีคก็ไม่สูงสุดเช่นกัน แต่กรณีนี้แต่ละพื้นที่เวลาน้ำขึ้นไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาละเอียดนิดนึง
+ ถ้าไม่ต้องให้ 2 เขื่อนเสี่ยงช่วย (1/3 ของทุกเขื่อน) โดยเตรียมเขื่อนอื่นไว้ผลิตไฟฟ้าเอง ก็ยังเพียงพออยู่จากปริมาณสำรองของเขื่อน 3 เท่าตัว
+ มีเขื่อนที่ประเทศลาวทำสัญญาซื้อไฟไว้ 6.6% ของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทย ในปี 54 เทียบกับเขื่อนในไทยเพียง 3.6% ในปีเดียวกัน แถมการจัดการยังอยู่ในมือเราที่เตรียมการวักน้ำเอาไว้ในเขื่อนเค้าก่อน เวลาต้องการก็ค่อยปล่อยน้ำได้อีก
อีกทั้งยังได้สรุปแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารไว้ด้วยค่ะ

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(1): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

ดูเหมือนว่า “การจัดการเรื่องเขื่อนเชื่อมโยงกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมีความซีเรียสลดลงเยอะทีเดียว” และอีกข้อมูลสนับสนุนที่ว่า “เขื่อนในไทยก็จะผลิตปริมาณพลังงานไฟฟ้าลดลงจนเหลือแค่ 1 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ในปี 2573 ไปใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวแทนด้วยส่วนนึง” นั้นก็เป็นข้อมูลเชิงบวกอีกด้วยค่ะ รู้สึกว่าการจะเกิดวิกฤตหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปิดปิดน้ำแล้วละสิ

บรรยากาศงาน CEPSI 2008-2010

[blog] นี้เขียนเป็นลักษณะแง่มุมที่สะสมมาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ได้มีโอกาสไปนำเสนอ Paper ด้านพลังงานผลิตไฟฟ้า ที่ประเทศมาเก๊า จนมาถึงปีนี้ที่ประเทศไต้หวัน

1 2 3