Clustal Fault

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(2): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

เหตุการณ์ ณ ตอนน้ำท่วมเมื่อพิจารณากับลักษณะของพีค มีสิ่งที่น่าสนใจคือ

+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. ปริมาณพีคคงไม่สูงสุด
+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเวลาพีค ปริมาณพีคก็ไม่สูงสุดเช่นกัน แต่กรณีนี้แต่ละพื้นที่เวลาน้ำขึ้นไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาละเอียดนิดนึง
+ ถ้าไม่ต้องให้ 2 เขื่อนเสี่ยงช่วย (1/3 ของทุกเขื่อน) โดยเตรียมเขื่อนอื่นไว้ผลิตไฟฟ้าเอง ก็ยังเพียงพออยู่จากปริมาณสำรองของเขื่อน 3 เท่าตัว
+ มีเขื่อนที่ประเทศลาวทำสัญญาซื้อไฟไว้ 6.6% ของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทย ในปี 54 เทียบกับเขื่อนในไทยเพียง 3.6% ในปีเดียวกัน แถมการจัดการยังอยู่ในมือเราที่เตรียมการวักน้ำเอาไว้ในเขื่อนเค้าก่อน เวลาต้องการก็ค่อยปล่อยน้ำได้อีก
อีกทั้งยังได้สรุปแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารไว้ด้วยค่ะ

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(1): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

ดูเหมือนว่า “การจัดการเรื่องเขื่อนเชื่อมโยงกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมีความซีเรียสลดลงเยอะทีเดียว” และอีกข้อมูลสนับสนุนที่ว่า “เขื่อนในไทยก็จะผลิตปริมาณพลังงานไฟฟ้าลดลงจนเหลือแค่ 1 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ในปี 2573 ไปใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวแทนด้วยส่วนนึง” นั้นก็เป็นข้อมูลเชิงบวกอีกด้วยค่ะ รู้สึกว่าการจะเกิดวิกฤตหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปิดปิดน้ำแล้วละสิ