ความรู้ทั่วไปด้านพลังงาน

แสงอาทิตย์ใช้หลอมหินได้!

รายการจาก BBC แสดงให้เห็นว่าการใช้เลนส์แก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2 เมตร ก็สามารถหลอมหินได้แล้ว ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ดวงอาทิตย์แม้จะอยู่ห่างจากเรามาก แต่ก็มีพลังงานมากมายมหาศาลจริงๆ กำแพงประสิทธิภาพการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ยังรอให้เราได้พัฒนากันอีกมากมาย

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(2): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

เหตุการณ์ ณ ตอนน้ำท่วมเมื่อพิจารณากับลักษณะของพีค มีสิ่งที่น่าสนใจคือ

+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. ปริมาณพีคคงไม่สูงสุด
+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเวลาพีค ปริมาณพีคก็ไม่สูงสุดเช่นกัน แต่กรณีนี้แต่ละพื้นที่เวลาน้ำขึ้นไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาละเอียดนิดนึง
+ ถ้าไม่ต้องให้ 2 เขื่อนเสี่ยงช่วย (1/3 ของทุกเขื่อน) โดยเตรียมเขื่อนอื่นไว้ผลิตไฟฟ้าเอง ก็ยังเพียงพออยู่จากปริมาณสำรองของเขื่อน 3 เท่าตัว
+ มีเขื่อนที่ประเทศลาวทำสัญญาซื้อไฟไว้ 6.6% ของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทย ในปี 54 เทียบกับเขื่อนในไทยเพียง 3.6% ในปีเดียวกัน แถมการจัดการยังอยู่ในมือเราที่เตรียมการวักน้ำเอาไว้ในเขื่อนเค้าก่อน เวลาต้องการก็ค่อยปล่อยน้ำได้อีก
อีกทั้งยังได้สรุปแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารไว้ด้วยค่ะ

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(1): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

ดูเหมือนว่า “การจัดการเรื่องเขื่อนเชื่อมโยงกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมีความซีเรียสลดลงเยอะทีเดียว” และอีกข้อมูลสนับสนุนที่ว่า “เขื่อนในไทยก็จะผลิตปริมาณพลังงานไฟฟ้าลดลงจนเหลือแค่ 1 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ในปี 2573 ไปใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวแทนด้วยส่วนนึง” นั้นก็เป็นข้อมูลเชิงบวกอีกด้วยค่ะ รู้สึกว่าการจะเกิดวิกฤตหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปิดปิดน้ำแล้วละสิ

บรรยากาศงาน CEPSI 2008-2010

[blog] นี้เขียนเป็นลักษณะแง่มุมที่สะสมมาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ได้มีโอกาสไปนำเสนอ Paper ด้านพลังงานผลิตไฟฟ้า ที่ประเทศมาเก๊า จนมาถึงปีนี้ที่ประเทศไต้หวัน

วงจรชีวิตของผู้ผลิตไฟฟ้า

เจ้าของบริษัทจะยอมให้เสียความพร้อมการผลิตไฟฟ้า จากความเสียหายอุปกรณ์ไม่ได้เลย เพราะนั่นหมายถึงรายได้ของบริษัทวันละหลายสิบล้านบาททีเดียว ดังนั้น งานซ่อมของโรงไฟฟ้าเหล่านี้นอกจากจะซ่อมกันทุกปีเมื่อมีเวลาว่าง แล้วก็มักจะทำตามบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรเหล่านั้นอย่างเคร่งครัด (บางทีก็ Over Maintenance กันแบบไม่รู้ตัว อุปกรณ์อาจไม่ได้ดีขึ้น แต่แย่ลงกว่าเดิมก็เป็นได้) ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนได้ในแง่ของความรู้ที่เก็บสะสมของผู้ทำงานในไทยเองว่า จะไม่ได้เก็บสะสมความรู้ในการซ่อม คิด ประดิษฐ์สิ่งทดแทนมาใช้ในงานซ่อม แต่ใช้วิธีซื้อ Parts เปลี่ยนซะเป็นส่วนใหญ่

Energy: Efficiency, Conservation, Savings

Energy Efficiency, Energy Conservation, Energy Savings ถ้าแปลเป็นไทย ก็คือ การอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ การประหยัดพลังงาน นั่นเอง และได้สอบถาม @KribBKK ผู้เชี่ยวชาญด้าน Energy Efficiency จาก Twitter เรื่องความแตกต่างของ 3 คำนี้ ว่าเป็นอย่างไร ได้คำตอบทันใจจากเว็บนี้ค่ะ

CEPSI2010 at a glance

งานประชุมสัมมนาวงการผู้ผลิตไฟฟ้าแห่งเอเชียนี้ ปีนี้จะจัดที่ประเทศไต้หวัน และได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 แล้ว ผู้เขียนเองได้มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมเวทีแห่งนี้ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 2 โดยในปีนี้ได้มีโอกาสนำเสนอใน Technical sessions ของปัญหา Steam Turbine ที่พบแล้วแก้ปัญหายากมากๆ ระดับ OEMs ยังกุมหัว คือ Subsynchronous Vibration

พลังงานทดแทนไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงมิใช่สูตรสำเร็จของการแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในบ้านเรา อย่างมากก็คงจะเป็นได้แค่เพียงทางเลือกของการจัดหาพลังงานชนิดหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น แต่คงไม่ใช่ทางรอดที่เราคิดจะพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนแต่เพียงอย่างเดียว

คำจำกัดความเรื่อง”การปรับปรุงโรงไฟฟ้า”ที่พูดทีไร แล้วเป็น งง ทุกที

คำจำกัดความเรื่อง “การปรับปรุงโรงไฟฟ้า” นี้ ได้ยินครั้งแรกๆ ในประเทศไทยสักเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ก็คงเป็นเพราะโรงไฟฟ้าเริ่มแก่ ต้องกินยาบำรุงกันหน่อย หรือเปลี่ยนอวัยวะภายในให้กระชุ่มกระชวย [blog] นี้ได้ทดลองจับกลุ่มคำต่างๆ เหล่านี้ คงจะพอทำให้ไม่สับสน และจำกันได้ง่ายขึ้นน่ะค่ะ

1 4 5 6 7 8 9