พลังงานทดแทนไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน :ทางเลือกหรือทางรอด ?

Renewables & Biofuels
Renewables & Biofuels

มุมมองที่น่าสนใจและสำคัญอย่างยิ่งซึ่งทำให้คนทั่วไปหายสงสัยถึงเรื่องความจำเป็น (หรือไม่) ของพลังงานทดแทน
ข้อความบางส่วนจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2564 วันที่ 9-11 กันยายน 2553
โดย คุณมนูญ ศิริวรรณ ทีปรึกษาอิสระและนักวิชาการอิสระด้านพลังงาน
และที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทการจัดการธุรกิจ จำกัด

ผมได้มีโอกาสไปร่วมการสัมมนาเรื่อง “ทิศทางพลังงานไทย” ที่ศูนย์บริการทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ซึ่งมีโอกาสเป็นผู้สรุปประเด็นการแยกสัมมนากลุ่มย่อย สามารถสรุปประเด็นสำคัญๆ ได้ดังนี้

1.ส่วนใหญ่มีความไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เพิ่ีมเติม ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าประเภทใดก็ตาม หรือแม้แต่โรงไฟฟ้าชีวมวล เช่น ขยะ แกลบ หรือเศษไม้ เป็นต้น โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่อนุรักษ์ หรือพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้าน เช่น ชายทะเล โดยอ้างเรื่องสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ

2.โรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ถูกต่อต้านหนักที่สุด โดยระบุว่าไม่ไว้ใจในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย เรื่องกากขยะมลพิษ ความโปร่งใสของรัฐบาลและข้าราชการ และการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้าง ถึงขนาดระบุว่าแม้จะเข้าไปสำรวจพื้นที่หรือทำความเข้าใจกับชุมชนก็ไม่ยอมให้เข้าไปในพื้นที่เด็ดขาด ถ้าจะสร้างให้ไปสร้างในกรุงเทพฯ เป็นต้น

3.ที่ประชุมเห็นด้วยกับการเร่งรัดการดำเนินการด้านการประหยัดพลังงาน (Demand Side
Management-DSM) ให้เข้มข้นมากกว่านี้ โดยเห็นว่าเรื่อง DSM ควรแยกออกมาจากความ
รับผิดชอบของ กฟผ. และต้องเป็นหน่วยงานอิสระโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งผมให้ความเห็น
เพิ่มเติมว่าหน่วยงานที่ควรมีบทบาทรับผิดชอบในเรื่องนี้มีอยู่แล้วคือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

4.ควรหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่ิมขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์
โดยผมได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าเราควรสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กกระจายออกไปในท้องที่ต่างๆ ให้มากขึ้น โดยให้ชุมชนหรือ อบต. เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
หรือโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนขนาดเล็ก ซึงเหมาะสมกับชุมชนที่อยู่ห่างไกล ถือเป็นการกระจายอำนาจในการผลิตไฟฟ้าออกไป แทนที่จะรวมศูนย์อยู่ในส่วนกลางเหมือนในระบบปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามจากข้อสรุปทั้งหมดผมเห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ และอยากตั้งข้อสังเกตว่าเราให้ความสำคัญกับโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนมากเกินไปหรือเปล่าว่าจะเป็นทางรอดในการพัฒนาและ
จัดหาปริมาณไฟฟ้าให้พอกับความต้องการในอนาคตได้

ตามแผน PDP 2010 กำหนดว่าภายในปี 2573 จะต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง กำลังการผลิต 5,000 MW โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด 11 โรงกำลังการผลิต 8,400 MW รวมกัน
เท่ากับ 13,400 MW ในขณะที่กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 4,617 MW
ถ้าเรายกเลิกไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมทั้งสิ้น 16 โรง เราต้องสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจากแผน PDP 2010 อีก 3 เท่าตัว จึงจะได้กำลังการผลิตเท่ากับโรงไฟฟ้า 16 โรงที่ยกเลิกไป

อีกประการหนึ่งการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนถึงแม้จะทำได้ แต่เราก็ยังพบกับปัญหาต้นทุนค่าไฟที่สูงขึ้น เพราะต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจะสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินหรือนิวเคลียร์ เพราะ กฟผ. ต้องจ่ายส่วนเพิ่ม การรับซื้อไฟฟ้า (Adder) สำหรับการผลิตไฟฟ้าประเภทพลังงานหมุนเวียน ในอัตราสูงขึ้นระหว่าง 30 สตางค์ ถึง 8.00 บาทต่อหน่วย
ดังนั้นถ้าเราเพิ่ิมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าตัวดังกล่าว
คำถามคือในอนาคตเราพร้อมที่จะแบกรับค่าไฟที่จะต้องสูงขึ้นหรือไม่ และถ้าค่าไฟบ้านเราสูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของเราจะแข่งขันกับประเทศเพื่ือนบ้าน
หรือประเทศที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของเราได้หรือไม่ ถ้าประเทศเหล่านั้นยังคงผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหลักที่ีเป็นเชื้อเพลิงราคาถูกจากฟอสซิล หรือ นิวเคลียร์ แล้วเราจะแข่งขัน
กับเขาได้อย่างไร

ในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่นประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ประชาชนมีจิตสำนึกในเรื่องสิงแวดล้อมสูง ประเทศเหล่านี้จะใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้ามาก และประชาชนจะยอมจ่ายค่าไฟสูงขึ้น เพื่อใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนที่เรียกว่า พลังงานสีเขียว (Green Power) โดยสมัครใจ แต่คนไทยเราจะมีจิตสำนึกในสิ่งแวดล้อมสูงขนาดนั้นหรือไม่ หรือถ้ามีแต่เรามีฐานะทางเศรษฐกิจดีเพียงพอที่จะแบกรับต้นทุนที่่จะสูงขึ้นอย่างนั้นได้หรือไม่

ดังนั้น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงมิใช่สูตรสำเร็จของการแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในบ้านเรา อย่างมากก็คงจะเป็นได้แค่เพียงทางเลือกของการจัดหาพลังงานชนิดหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น แต่คงไม่ใช่ทางรอดที่เราคิดจะพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนแต่เพียงอย่างเดียว

เรื่องจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งสำคัญที่บางคนคิดว่าต้องอาศัยการให้การศึกษากันอีกไกล แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มี ISO เข้ามาครอบคงจ้าละหวั่นกันน่าดู และถ้ายิ่งคิดถึงแต่พลังงานทดแทนแบบสวยหรูอลังการยิ่งไปกันใหญ่ เอาแค่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ หรือ “Energy Efficiency” ที่ดูเหมือนธรรมดา แต่จริงๆ แล้วนี่เป็น Priority แรกที่ชาวโลกมองกันทีเดียว

ส่วนกรณีการตกอันดับในการแข่งขันกับเพื่อนบ้านไปแล้ว ต้องดูกรณีศึกษาจากประเทศฟิลิปปินส์!!!