ASEAN

เปิดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของเพื่อนบ้าน

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศต่างๆ สะท้อนนโยบายของประเทศ ณ ขณะนั้น และแสดงถึงการใช้พลังงานเพื่อการผลิตในประเทศซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรม ขนส่ง ครัวเรือนในประเทศทั้งหมด อีกทั้งภาค Power Generation เป็นภาคการผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็น Emission ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงนี้ ประเทศเวียดนามนี้ น่าจะมีกิจกรรมของประเทศที่น่าสนใจมากทีเดียว ระหว่างการเติบโตของประเทศ การใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น การควบคุมต้นทุนเชื้อเพลิง และการคำนึงถึงด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ว่าจะมีการสร้างสมดุลอย่างไร !

ไฟฟ้าระบบ Grid ยุโรป อย่างงี้ก็มีด้วย!

การรักษา Supply ของกระแสไฟฟ้าให้ตอบสนองกับ Demand หรือที่เรียกกันในภาษาเทคนิคว่า Match Demand and Supply of Electricity นี่เป็นความยากของ System Operator เสียจริง ตัวอย่าง กรณีศึกษาพลังงานไฟฟ้าในช่วงพระราชพิธีอภิเษกสมรส ประเทศเนเธอร์แลนด์

อึ้ง! ไทยใช้เชื้อเพลิงถูกได้อีกไม่เกิน 3 ปี

สรุปได้ว่า รัฐบาลพยายามอุดหนุนพลังงานของประเทศเกือบทั้งหมด ทั้งภาคขนส่งและภาคการผลิตไฟฟ้า การ Educate ประชาชนว่า เราต้องจ่ายแพงขึ้นสำหรับสาธารณูปโภค น้ำมัน ก๊าซ ไฟฟ้า ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากก็จริง แต่มันเป็นสิ่งจำเป็นกับสภาวะปัจจุบันอย่างปฏิเสธไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่า จะให้ผลกระทบนั้นมาถึงประชาชนแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือจะเอาแบบฉับพลันตั้งตัวไม่ได้ หรือว่ารอจังหวะเหมาะที่เป็นรัฐบาลของใคร ?!?

ไทยทำได้! นักธุรกิจหญิงอันดับ 15 ของ Asia กับ Solar Farm

คุณวันดี กุญชรยาคง กับภารกิจที่ทิ้งความเป็นมืออาชีพไม่ได้ ได้รับการจัดลำดับให้เป็น Top 15th ของนักธุรกิจหญิงในภูมิภาคเอเชียจากนิตยสาร Forbes Asia 2012 โครงการโซล่าร์ฟาร์มแห่งแรกนี้เริ่มตั้งแต่สมัยคุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ดำรงตำแน่ง รมต.กระทรวงพลังงาน และ กฟภ. เปิดรับผู้ขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนช่วงแรก ซึ่งยังไม่มีใครในประเทศไทยทำพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เลย

ไฟฟ้าไทยกับการใช้ทรัพยากรของเพื่อนบ้าน

จากปัจจุบันจนถึง 10 ปีข้างหน้าสัดส่วนการใช้ทรัพยากรของประเทศเราเอง กับการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติดูจะใกล้เคียงกัน แต่หลังจาก 10 ปีเป็นต้นไป (ปี พ.ศ.2564) ทรัพยากรของเราเริ่มนิ่ง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเพิ่มสูงขึ้นนั้นจะแปรผันตรงกับการเพิ่มขึ้นของการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติทั้งหมด คราวนี้ที่น่าวิตกคือ ประเทศเราไม่ได้มีกำลังซื้อมากซะด้วย ทีนี้คนขายเชื้อเพลิงหรือขายไฟฟ้าให้เรา อยู่ดีดีเจอวิกฤตการณ์ หรือกลไกตลาด อาจไม่ขายให้เราซะเฉยๆ ก็เป็นได้ และที่ว่าประเทศหนึ่งเจริญ ช่วยทำให้ประเทศข้างเคียงเจริญไปด้วยกัน กรณีไทยอาจซื้อไฟฟ้าจากกัมพูชามั่งก้อได้ ถ้าไม่ทะเลาะกันแบบแตกหักซะก่อน [แต่ขอละไว้ในเรื่อง 3G 😛 เพราะประเทศลาวก้าวล้ำแบบไม่เห็นฝุ่นซะแร้ว]

บรรยากาศงาน CEPSI 2008-2010

[blog] นี้เขียนเป็นลักษณะแง่มุมที่สะสมมาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ได้มีโอกาสไปนำเสนอ Paper ด้านพลังงานผลิตไฟฟ้า ที่ประเทศมาเก๊า จนมาถึงปีนี้ที่ประเทศไต้หวัน

CEPSI2010 at a glance

งานประชุมสัมมนาวงการผู้ผลิตไฟฟ้าแห่งเอเชียนี้ ปีนี้จะจัดที่ประเทศไต้หวัน และได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 แล้ว ผู้เขียนเองได้มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมเวทีแห่งนี้ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 2 โดยในปีนี้ได้มีโอกาสนำเสนอใน Technical sessions ของปัญหา Steam Turbine ที่พบแล้วแก้ปัญหายากมากๆ ระดับ OEMs ยังกุมหัว คือ Subsynchronous Vibration

CEPSI 2010 coming soon

Conference of the Electric Power Supply Industry (CEPSI), hosted by Taiwan Power Company (Taipower), will be held on October 24-28, 2010 at the Taipei International Convention Center and the Taipei World Trade Center-Exhibition Hall 1 in Taipei, Taiwan.

900 กิโลจากไทย-โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวียดนาม Ninh Thuan

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม ถึงปี ค.ศ. 2030 ภายใต้การนำของนายกฯ Nguyen Tan Dung ที่อนุมัติเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 53 ให้สร้างทั้งหมด 8 แห่ง โดยมีกำลังผลิตรวมประมาณ 15,000 – 16,000 MW ด้วยกัน
ประเทศไทย ที่มาพร้อมกับโชคช่วยหรืออย่างไร ที่สามารถแก้วิกฤตน้ำมันได้ด้วยการค้นพบก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย จนวันนี้ ถึงคราวที่ต้องเผชิญกับการตัดสินใจด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกรอบซะแล้ว!!!

1 2