สิ่งแวดล้อม

ไทยทำได้! นักธุรกิจหญิงอันดับ 15 ของ Asia กับ Solar Farm

คุณวันดี กุญชรยาคง กับภารกิจที่ทิ้งความเป็นมืออาชีพไม่ได้ ได้รับการจัดลำดับให้เป็น Top 15th ของนักธุรกิจหญิงในภูมิภาคเอเชียจากนิตยสาร Forbes Asia 2012 โครงการโซล่าร์ฟาร์มแห่งแรกนี้เริ่มตั้งแต่สมัยคุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ดำรงตำแน่ง รมต.กระทรวงพลังงาน และ กฟภ. เปิดรับผู้ขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนช่วงแรก ซึ่งยังไม่มีใครในประเทศไทยทำพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เลย

Smart Grid อีกทางเลือกของ Energy Efficiency

Smart Grid ช่วยในแง่ของ Energy Efficiency ทั้งด้าน ผู้ผลิต (Supply Side) และด้านผู้ใช้ไฟฟ้า (Demand Side) เช่น ถ้าคนรู้ชัดเจนว่า พีคโหลดกำลังจะต้องทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าต้องเลือกเดินเครื่องน้ำมันเตาเสริมระบบขึ้นมาอีกโรง สังคมของคนฉลาด หรือ Smart Community ก็สามารถช่วยกันรณรงค์หยุดใช้ไฟฟ้าช่วงเวลานั้น ไปใช้ช่วงอื่นได้ ซึ่งช่วยประหยัดเชื้อเพลิงฟอสซิลราคาสูงได้ อีกทั้งช่วยผู้ผลิตไม่ต้องวางแผนสำรองกำลังผลิตจนมากเกินไป

กังหันปั่นน้ำภูเขากลายเป็นไฟฟ้า

ยุคปัจจุบันนี้ การทำงานร่วมกันของชาวบ้านเป็นการดิ้นรนแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนให้มากที่สุด กังหันน้ำปั่นไฟฟ้า ที่คีรีวง นครศรีธรรมราช

Nissan Leaf รถยนต์ไฟฟ้า 100% เข้าไทยแล้ว เท่แบบกรีนๆ 2.85 ล้าน

การใช้พลังงานฟอสซิล และน้ำมัน คือผลประโยชน์และการเมืองระดับโลกที่ทำให้รถไฟฟ้าไม่พัฒนา แต่นิสสันได้มุ่งมั่นและฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆซึ่งต้องนับถือจิตใจที่เข้มแข็งของเหล่าผู้บริหาร อยากกรีนๆเท่ๆลองพิจารณาสักคัน

คำตอบการอยู่ร่วมกันของไฟฟ้าและชุมชน

คำตอบการอยู่ร่วมกันของไฟฟ้าและชุมชน :โรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน-บ้านสามขา จากอดีตถึงปัจจุบัน
“จากป่าไฟใหม้ กลายเป็นป่าชุ่มชื้น; จากหนี้สิน แปลงเป็นรายได้ผลิตไฟฟ้า”
ได้ความเข้าใจชุมชนในท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาเราและเขาร่วมกัน คนที่มีหัวใจรับผิดชอบต่อสังคมสไตล์ CSR-Corporate Social Responsibilityอย่างแท้จริงเท่านั้นที่ทำงานอย่างนี้ได้

อนุรักษ์พลังงาน-กฏเหล็กของธุรกิจปัจจุบันต้องมี

เรื่องอนุรักษ์พลังงานเล็กๆ กลายเป็น กฏใหม่ของการลงทุน แล้ว ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทีเดียวที่ได้ความร่วมมือจากตัวแทนอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ไฟฟ้า และภาคธุรกิจ

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(2): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

เหตุการณ์ ณ ตอนน้ำท่วมเมื่อพิจารณากับลักษณะของพีค มีสิ่งที่น่าสนใจคือ

+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. ปริมาณพีคคงไม่สูงสุด
+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเวลาพีค ปริมาณพีคก็ไม่สูงสุดเช่นกัน แต่กรณีนี้แต่ละพื้นที่เวลาน้ำขึ้นไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาละเอียดนิดนึง
+ ถ้าไม่ต้องให้ 2 เขื่อนเสี่ยงช่วย (1/3 ของทุกเขื่อน) โดยเตรียมเขื่อนอื่นไว้ผลิตไฟฟ้าเอง ก็ยังเพียงพออยู่จากปริมาณสำรองของเขื่อน 3 เท่าตัว
+ มีเขื่อนที่ประเทศลาวทำสัญญาซื้อไฟไว้ 6.6% ของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทย ในปี 54 เทียบกับเขื่อนในไทยเพียง 3.6% ในปีเดียวกัน แถมการจัดการยังอยู่ในมือเราที่เตรียมการวักน้ำเอาไว้ในเขื่อนเค้าก่อน เวลาต้องการก็ค่อยปล่อยน้ำได้อีก
อีกทั้งยังได้สรุปแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารไว้ด้วยค่ะ

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(1): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

ดูเหมือนว่า “การจัดการเรื่องเขื่อนเชื่อมโยงกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมีความซีเรียสลดลงเยอะทีเดียว” และอีกข้อมูลสนับสนุนที่ว่า “เขื่อนในไทยก็จะผลิตปริมาณพลังงานไฟฟ้าลดลงจนเหลือแค่ 1 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ในปี 2573 ไปใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวแทนด้วยส่วนนึง” นั้นก็เป็นข้อมูลเชิงบวกอีกด้วยค่ะ รู้สึกว่าการจะเกิดวิกฤตหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปิดปิดน้ำแล้วละสิ

ดร.ก้องภพ กับการเปิดเผยเรื่องนอกโลกที่เราควบคุมไม่ได้

มนุษย์ทุกคนอยากรู้ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับตัวและโลกนี้ แต่เราคงไม่ได้ถูกทำให้รู้ ถ้าผู้ที่รู้ ก็รู้ไว้เฉยๆ ไม่ได้อยากให้ใครมารู้ด้วย อาจจะเกรงหรือไม่เกรงว่าจะเกิดความตื่นตระหนก หรือ จะทำให้กลไกในโลกนี้เปลี่ยนแปลงไป หรือ ที่สำคัญที่สุดยิ่งไปกว่านั้นคือ คนเหล่านี้อยู่ในระดับที่สามารถรู้ได้ไหม

พลังงานทดแทนไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงมิใช่สูตรสำเร็จของการแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในบ้านเรา อย่างมากก็คงจะเป็นได้แค่เพียงทางเลือกของการจัดหาพลังงานชนิดหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น แต่คงไม่ใช่ทางรอดที่เราคิดจะพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนแต่เพียงอย่างเดียว

1 2 3