คำตอบการอยู่ร่วมกันของไฟฟ้าและชุมชน

คำตอบการอยู่ร่วมกันของไฟฟ้าและชุมชน :
โรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน-บ้านสามขา จากอดีตถึงปัจจุบัน

จากป่าไฟใหม้ กลายเป็นป่าชุ่มชื้น

จากหนี้สิน แปลงเป็นรายได้ผลิตไฟฟ้า

ได้ยิน บ้านสามขา ครั้งแรกก็จากคุณวราภรณ์ คุณาวนกิจที่ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำธุรกิจนวัตกรรมพลังงานทดแทนไทย” ที่จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ไม่น่าเชื่อว่าจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาหนี้สิน การไม่มีน้ำของชุมชน การเริ่มต้นจากเด็ก แล้วทำให้ความร่วมมือร่วมใจจนประสบความสำเร็จถึงปัจจุบัน เรื่องนี้เป็นต้นแบบของหลายประเด็น ไม่ใช่แค่ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เท่านั้น แต่เป็นได้ตั้งแต่ KM-Knowledge Management, การพัฒนาโจทย์วิจัยจากปัญหา, การสร้างฝายชะลอน้ำกว่า 5,xxx แห่งในเวลาเพียง 7 ปี แต่จะยั่งยืนได้ต้องเกิดความร่วมมือกันของชุมชน, และนวัตกรรมในงานวิจัยทั้งเชิงความคิดและเทคนิค

Social Mapping

สกว. ได้อธิบายไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ จนถึงปัจจุบันที่กำลังจะเกิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ที่ชุมชนแห่งนี้ พร้อมทั้งแผนการจัดการธนาคารชุมชน เพื่อสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในชุมชน “ด้วยตัวของชุมชนเอง”

map model โรงไฟฟ้าพลังน้ำสามขา
โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กติ๊บปาละสามขา มีกำลังผลิตอยู่ที่ 18-22 Kw มาติดตั้งอยู่ที่บริเวณประตูระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำบ้านสามขา(มีความจุน้ำ 180,000 ลบ.ม) โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ขั้นต่ำอย่างน้อย 4 เดือนต่อปี และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 250,000 บาทต่อปี โดยเปิดให้มีการถือครองหุ้นไม่เกินคนละ 170 หุ้น หรือ 1,700 บาท

ผู้มีสิทธิถือครองหุ้นหรือผู้ร่วมลงทุน แบ่งเป็น
1. ชาวบ้านสามขาตามระเบียบ จำนวน 50 % <มูลค่าเงิน 1,500,000 บาท>
2. กลุ่ม/องค์กร ในหมู่บ้านสามขา 25 % < มูลค่าเงิน 750,000 บาท>
3. ศูนย์ภูมิอินทรีย์ เครือข่ายโรงไฟฟ้ามหามงคล 25 % < มูลค่าเงิน 750,000 บาท>
ผลที่ชาวบ้านจะได้รับจากโครงการนี้ คือ ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าในครัวเรือน และในภาพรวมของชุมชนลงได้ เป็นการสร้างพลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานสะอาดโดยมีต้นทุนจากทรัพยากรของชุมชนเอง อีกส่วนคนในชุมชนจะได้เรียนรู้การบริหารจัดการชุมชนในประเด็นใหม่ ทำให้เป็นการเรียนรู้ สะสมความรู้จากผู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ตลอดจนเป็นวิทยาทานให้กับผู้ที่สนใจได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนบ้านสามขาต่อไป

นับเป็นอีกก้าวของการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารจัดการของชุมชน ในขณะที่ต้องเดินหน้าอนุรักษ์ดูแลผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพราะน้ำเป็นทุนธรรมชาติที่จำเป็นการดำรงชีวิตและการนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ

Fai BaanSaamKha ฝาย บ้านสามขา โรงไฟฟ้า พลังน้ำ Microhydro CSR Corporate Social Responsibility

*** ได้ความเข้าใจชุมชนในท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาเราและเขาร่วมกัน คนที่มีหัวใจรับผิดชอบต่อสังคม-CSR-Corporate Social Responsibilityอย่างแท้จริงเท่านั้นที่ทำงานอย่างนี้ได้ ***

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ , คุณวราภรณ์ คุณาวนกิจ และชุมชนบ้านสามขา