ความรู้ทั่วไปด้านพลังงาน

Mekong River แม่น้ำโขงร่วมกันพัฒนาหรือทำลาย: ประเด็นจีน

สาเหตุของปัญหาที่สำคัญอีกอย่าง เนื่่องจากเป็นสายน้ำสายเดียวกันที่มีการวางแผนสร้างเขื่อนอยู่มากมายเช่นนี้ การจะผลิตไฟฟ้าด้วยเขื่อนทั้งหลาย คงต้องวางแผนกันอย่างดีจากการกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อเขื่อนท้ายน้ำลำดับถัดไป อย่างน้อยก็ระยะเวลาน้ำสูงถึงระดับที่จะเดินเครื่องได้ เพราะถ้าไม่ได้วางแผนร่วมกันระหว่างประเทศแล้ว คงมีจังหวะที่ประชาชนคนท้ายน้ำต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

Basic Steam Turbine: Disassembly

เนื่องจาก Steam Turbine Parts มีอยู่เยอะมาก ว่ากันว่าในงาน Steam Turbine Outage แต่ละครั้งมีอยู่ แสน แสนรายการงานถอด-ประกอบทำกันเกือบเดือนหรือกว่านั้น งานแบบนี้วิชา Project Management หรือพวก Critical Path Management คงใช้กันอย่างเต็มที่ทีเดียว แถมใน Animation ชุดนี้ยังได้ทำให้เห็นความมีระเบียบเรียบร้อยเป็นระบบของการจัดวาง Disassembly Parts อีกด้วย เป็นสิ่งซึ่ง Field Engineer ทุก Site งานจำเป็นต้องควบคุมกันอยู่ตลอดเวลา

Green PDP แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า จะเขียวจริงหรือไม่

กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถึง 2 ครั้งด้วยกันต่อ “แผน PDP2010” ซึ่งครอบคลุมยาวขึ้นไปอีกคือ ปี 2553-73 (20 ปี) และได้มีชื่อเรียกโดย รองปลัดกระทรวงพลังงาน คุณณอคุณ สิทธิพงศ์ ว่าเป็นฉบับ “Green PDP” โดยแนวทางการจัดทำก็เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีของกระทรวงฯ , พิจารณาถึงการลด CO2 ของโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้าระบบ, และประสิทธิภาพการใช้พลังงานนั่นเอง ส่วนที่ยังคงอยู่เหมือนเดิม คือความมั่นคงในระบบ การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง และการส่งเสริม Cogeneration

ASEAN Energy Outlook ตอนที่ 2/2

จากการเพิ่มของเชื้อเพลิง Coal และ Natural Gas ในการผลิตกระแสไฟฟ้าควรที่จะเพิ่มไปพร้อมๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น Thermal Efficiency คาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นจาก 38% ในปี 2005 ไปสู่ 44% ในปี 2030
Coal Consumption ที่เพิ่มสูงถึงเกือบ 10 เท่า จะทำให้ ASEAN ต้องรับมือกับ CO2 emission ที่เพิ่มสูงขึ้น ในแง่ของนโยบาย คือ ต้องเพิ่มโครงการ CDM และนอกจากความร่วมมือในโครงการ ASEAN Power Grid ทั้ง 14 Interconnections ยังมีความร่วมมือโครงการ Trans-ASEAN Gas Pipeline

TESCO Lotus กับการลด Carbon Footprint

Carbon Footprint หรือการวัดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิต (Product Life Cycle) ได้ถูกวางแผนลดตั้งแต่ปี 2007 ด้วยพันธกิจที่เข้มแข็งของ Sir Terry Leahy ประธานกรรมการบริหารของกลุ่ม Tesco จากปี 2006 ลด Carbon Footprint สะสมได้ถึง 14.4% ในปี 2008 แต่นี่เป็นเพียงยกที่หนึ่ง ยกต่อไปจะยุ่งยากหนักกว่าเดิมแน่นอน เพราะรู้ๆ กันอยู่แล้วว่าการคิดแบบ Life Cycle ต้องอาศัยความร่วมมือของต้นน้ำและปลายน้ำเป็นสำคัญทีเดียว

ควันหลง POWERGEN ASIA 2009

จากที่ได้ post ใน blog คราวก่อนให้ไปร่วมงาน POWERGEN ASIA 2009 กันที่เมืองทองธานี เมื่อวานได้มีโอกาสแวะชมงานกับเค้าเหมือนกัน เลยนำภาพบรรยากาศมาฝากกัน และสาระสำคัญอีกเพียบที่ได้จากนิทรรศการ

ASEAN Energy Outlook 2030 ตอนที่ 1/2

ความต้องการการใช้ไฟฟ้าเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่อัตราการเพิ่มขึ้นนั้นสูงที่สุดที่ 6.1% ต่อปี จากเพียงแค่ 38 Mtoe ในปี 2005 เพิ่มสูงถึง 164 Mtoe ในปี 2030 (Base Case) อัตราการเติบโตของการใช้ Coal สูงถึง 5.9% ต่อปี ถัดมาคือ Natural Gas ที่ 5% ต่อปี และในแง่การผลิตกระแสไฟฟ้าแยกตามชนิดโรงไฟฟ้า และแยกตามเชื้อเพลิง ได้คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีอัตราเพิ่มขึ้น 6.1% คือ 2,234 TWh (Base Case) และ 7.2% คือ 2,923 TWh (High Case) ในปี 2030

CLIMATE CHANGE: Its Impact to the Electricity Sector

เห็นได้ชัดว่าภายในปี 2050 นั้นการลดก๊าซ CO2 equivalent จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม Non-Annex I ถึง 23% นั่นคือ มีเพียงข้อตกลงในการช่วยกันลดก๊าซฯ ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Annex I) เท่านั้น จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ อย่างเช่น จีนและอินเดีย ควรมีส่วนร่วมในการลด CO2 อย่างแน่นอน จากที่ปริมาณ CO2 ที่ปล่อยจากทั้ง 2 ประเทศนี้สูงมาก

IGCC-Integrated Gasification Combined Cycle กับถ่านหินเกรดต่ำ ตอนที่ 4/4

IGCC Power Plant มีข้อได้เปรียบ คือ Net Efficiency เพิ่มสูงขึ้น, เปลี่ยนมาใช้ถ่านหินเกรดต่ำซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากและราคาถูกแทนเชื้อเพลิงเดิม, และลดปริมาณการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลประโยชน์เรื่องภาษีคาร์บอนในอนาคตอันใกล้ โดยเทคโนโลยีนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุน อย่างไรก็ตาม การเข้าใจถึงหลักการของกระบวนการข้างต้นย่อมเป็นข้อได้เปรียบในแง่การตัดสินใจในเวลาที่เหมาะสมต่อการลงทุน เมื่อเทคโนโลยีออกสู่ตลาดอย่างกว้างขวาง

1 6 7 8 9