TESCO Lotus กับการลด Carbon Footprint

Carbon Footprint หรือการวัดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิต (Product Life Cycle) ได้ถูกวางแผนลดตั้งแต่ปี 2007 ด้วยพันธกิจที่เข้มแข็งของ Sir Terry Leahy ประธานกรรมการบริหารของกลุ่ม Tesco จากบทความหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน BusinessWeek ฉบับตุลาคม 2552

Tesco Lotus - Energy Savings
Tesco Lotus - Energy Savings

หลายคนอาจสงสัยมานานทำไม Lotus ถึงเปลี่ยนเป็นสีเขียว!!! (ถ้าจำกันได้ก็หลังจากปี 2003 ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ขายหุ้น Tesco ออกไป) เรียกว่า Green Store Lotus นั่นเอง นอกจากจะมีมาตรการ แผนงานกำหนดให้พนักงานปฏิบัติแล้ว สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่พนักงานและลูกค้ามองเห็นอาคารสีเขียวทุกวันอย่างนี้ก็คือ The Secret กฏแห่งความสำเร็จ ที่ Lotus ใช้ได้อย่างเนียนเนียน แถมยังเป็นสมาชิกของ Climate Neutrality Network เพื่อแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนด้วย

ภายในปี 2020 Tesco ประกาศว่าจะลด CO2 จากสาขาและศูนย์กระจายสินค้าทั่วโลกให้ได้ถึง 50% ตอนนี้เดินมาถึงครึ่งทางแล้ว แม้ว่าจะผ่านไปเพียง 2 ปี ส่่วน Green Store เนี่ยมีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2003 เพื่อให้เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานที่ลดการใช้พลังงานได้ 12.5% สำหรับ Green Store แ่ห่งแรกใน ASIA อยู่ที่ ถนนพระรามที่ 1 ที่เริ่มเปิดเมื่อปี 2004 ส่วนอีกแห่งก็ที่ศาลายานี่เอง ทั้ง 2 แห่งมี Innovation ในเรื่องการประหยัดพลังงานมากมาย ทั้งเรื่องระบบปรับอากาศที่ใช้ Chiller, Solar Energy, การออกแบบอาคาร, Biodiesel & Biogas Plant, Solar Cooling System, Wind Turbine ฯลฯ

สำหรับการลด CO2 นั่นได้ร่วมมือกับ Environmental Resources Management (ERM) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในกระบวนการตรวจสอบการใช้พลังงานและคำนวณ Carbon Footprint ตามกรอบของอนุสัญญาก๊าซเรือนกระจก World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) และใช้ปีฐานคือปี 2006 โดยวัดจาก 3 ส่วนหลักของ Business Core คือ อาคารสิ่งก่อสร้าง การกระจายสินค้า และการเดินทางติดต่อธุรกิจของพนักงาน

การลงทุนด้วยเม็ดเงินกว่า 568 ล้านบาท โดยลดได้มากกว่า 31,000 ตันนั้นได้จากกระบวนการ เช่น การใช้หลอดไฟ T5, ใช้น้ำมันไบโอดีเซลในระบบขนส่งที่ได้รับความร่วมมือจาก Suppliers จากปี 2006 ลด Carbon Footprint สะสมได้ถึง 14.4% ในปี 2008 แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงยกที่หนึ่ง ที่ง่ายที่สุดของการลด Carbon Footprint แล้ว ยกต่อไปจะยุ่งยากหนักกว่าเดิมแน่นอน เพราะรู้ๆ กันอยู่แล้วว่าการคิดแบบ Life Cycle ต้องอาศัยความร่วมมือของต้นน้ำและปลายน้ำเป็นสำคัญทีเดียว