booruball

Power-Gen ASIA 7-9 ตุลาคมนี้

ติดตามการบรรยายงาน Power-Gen Asia หัวข้อ Power Plant Performance Management, Steam Turbine Experiences & Countermeasures, และ Heat Recovery Steam Generator (HRSG) Life Consumption นี้ได้ในงาน Power-Gen Asia ในวันที่ 9 ตุลาคม 2552 ณ IMPACT เมืองทองธานี

IGCC-Integrated Gasification Combined Cycle กับถ่านหินเกรดต่ำ ตอนที่ 2/4

ถ่านหินในโลกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ถ่านหินที่พบส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือ ถ่านหินลิกไนต์ (ถ่านหินเกรดต่ำ) สิ่งสำคัญของเทคโนโลยี IGCC นี้คือสามารถใช้กับถ่านหินเกรดต่ำได้นั่นเอง

IGCC-Integrated Gasification Combined Cycle กับถ่านหินเกรดต่ำ ตอนที่ 1/4

แสดงหลักการสำคัญของ Gasification ถ่านหินดูจะเป็นคำที่โดดเด่นที่สุดของยุคนี้ในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า เพราะอยู่ท่ามกลางความต้องการเชื้่อเพลิงหาได้ง่ายราคาถูกแล้ว ยังเป็นข้อจำกัดการปล่อยมลภาวะสิ่งแวดล้อม จังหวะนี้มีแต่คนอยากใช้ถ่านหินเกรดต่ำกันทั่วโลก IGCC จึงเป็นทางเลือกสำคัญของยุคนี้

ASEAN Power Grid

แผน ASEAN Power Grid ได้กำหนดให้ดำเนินการทั้งหมด 14 Interconnection projects ในกลุ่มประเทศ ASEAN ทั้งหมด จนถึงปัจจุบันปี 2009 ได้ดำเนินการสำเร็จแล้วทั้งหมด 3 projects ด้วยกัน คือ Interconnection ระหว่าง No.1 Malaysia-Singapore, No.2 Thailand-Malaysia, และ No.14 Thailand-Cambodia ประเทศไทยได้รับการยกย่องในกลุ่มประเทศ ASEAN ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการผลักดันแผนนี้ให้สำเร็จ

Voluntary Carbon Market-ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจไปถึงไหนแล้ว

รายงานฉบับที่เพิ่งออกมาหมาดๆ เดือนพฤษภาคม 2552 ชื่อเล่มว่า “Fortifying the Foundation: State of the Voluntary Carbon Markets 2009” จาก Ecosystem Marketplace และ New Carbon Finance ซึ่งได้รวบรวมความเคลื่อนไหวของ ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ได้กล่าวไว้ว่า มันเป็นการง่ายที่จะส่งเสริมตลาดฯ โดยแสดงตัวเลขการซื้อขายสูงจาก 66 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ 66m tCO2e ในปี 2007 ไปสู่ 123.4m tCO2e ในปีที่แล้ว แต่พอมาดูในรายละเอียดไม่ได้่่ง่ายอย่างที่คิดเลย

โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินสะอาด

หลังจากการเปิดตัว The World 1st Clean Coal Fired Power Plant ที่ประเทศเยอรมันนีเมื่อเดือนกันยายนปี 2551 ไปแล้วนั้น แม้ว่ามีแรงโจมตีเรื่องความเสี่ยงจากการระเบิดออกของก๊่าซคาร์บอนไดออกไซด์ความดันสูงที่ฝังใต้ดินนั้น แต่บทสรุปสุดท้ายชาวโลกก็ยังคงต้องการเทคโนโลยีรองรับให้กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ดีกว่าปล่อยลอยอยู่ในบรรยากาศอยู่ดี ทั้งที่ฝั่งอเมริกายังกักไม่ยอมลงนาม Kyoto Protocol แต่กลับมี Roadmap เป็นตัวเป็นตนที่ร่วมมือกับประเทศจีนที่ออกมาหมาดหมาดเมื่อเดือนมกราคม ปี 2552 นี้เอง

ผลิตไฟจากภูเขาไฟ-พลังความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ Kamojang ของบริษัืืท Indonesiapower พบว่า มีความแตกต่างจากโรงไฟฟ้าของไทยหลายแง่มุม ที่สำคัญคือ Production well ที่หนึ่งอย่างน้อยต้องผลิตได้ 10 MW จึงจะสร้างโรงไฟฟ้า

WEC แบ่งโลกพลังงานเป็น 4 Scenarios

พื้นฐานการเปรียบเทียบจะวิเคราห์ในเรื่องของ the WEC 3 A’s = Accessibility, Availability, และ Acceptability เพื่อเป็น Index ที่จะบอกความมีประิสิทธิภาพในแต่ละ Scenario ซึ่ง 4 Scenarios อธิบายได้ตามธรรมชาติของสัตว์ 4 ประเภท สรุปสุดท้ายแบ่งตามทวีปไปจนถึงปี 2050

บทสรุปจาก home project ของ youtube

Home Project เป็นการทำหนังด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่หวังผลกำไรโดย Yann Arthus-Bertrand หวังอย่างเดียวเพื่อแชร์ให้ทุกคนได้ดูและเห็นภาพของโลกเรามากขึ้นเท่านั้น แต่ต้องรอโหลดกันหน่อยนะครับ อ้อ เพลงประกอบเพราะดี ฟังแล้วสงบๆนะครับ

1 9 10 11 12