Power Plant

วงจรชีวิตของผู้ผลิตไฟฟ้า

เจ้าของบริษัทจะยอมให้เสียความพร้อมการผลิตไฟฟ้า จากความเสียหายอุปกรณ์ไม่ได้เลย เพราะนั่นหมายถึงรายได้ของบริษัทวันละหลายสิบล้านบาททีเดียว ดังนั้น งานซ่อมของโรงไฟฟ้าเหล่านี้นอกจากจะซ่อมกันทุกปีเมื่อมีเวลาว่าง แล้วก็มักจะทำตามบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรเหล่านั้นอย่างเคร่งครัด (บางทีก็ Over Maintenance กันแบบไม่รู้ตัว อุปกรณ์อาจไม่ได้ดีขึ้น แต่แย่ลงกว่าเดิมก็เป็นได้) ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนได้ในแง่ของความรู้ที่เก็บสะสมของผู้ทำงานในไทยเองว่า จะไม่ได้เก็บสะสมความรู้ในการซ่อม คิด ประดิษฐ์สิ่งทดแทนมาใช้ในงานซ่อม แต่ใช้วิธีซื้อ Parts เปลี่ยนซะเป็นส่วนใหญ่

CEPSI2010 at a glance

งานประชุมสัมมนาวงการผู้ผลิตไฟฟ้าแห่งเอเชียนี้ ปีนี้จะจัดที่ประเทศไต้หวัน และได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 แล้ว ผู้เขียนเองได้มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมเวทีแห่งนี้ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 2 โดยในปีนี้ได้มีโอกาสนำเสนอใน Technical sessions ของปัญหา Steam Turbine ที่พบแล้วแก้ปัญหายากมากๆ ระดับ OEMs ยังกุมหัว คือ Subsynchronous Vibration

คำจำกัดความเรื่อง”การปรับปรุงโรงไฟฟ้า”ที่พูดทีไร แล้วเป็น งง ทุกที

คำจำกัดความเรื่อง “การปรับปรุงโรงไฟฟ้า” นี้ ได้ยินครั้งแรกๆ ในประเทศไทยสักเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ก็คงเป็นเพราะโรงไฟฟ้าเริ่มแก่ ต้องกินยาบำรุงกันหน่อย หรือเปลี่ยนอวัยวะภายในให้กระชุ่มกระชวย [blog] นี้ได้ทดลองจับกลุ่มคำต่างๆ เหล่านี้ คงจะพอทำให้ไม่สับสน และจำกันได้ง่ายขึ้นน่ะค่ะ

CEPSI 2010 coming soon

Conference of the Electric Power Supply Industry (CEPSI), hosted by Taiwan Power Company (Taipower), will be held on October 24-28, 2010 at the Taipei International Convention Center and the Taipei World Trade Center-Exhibition Hall 1 in Taipei, Taiwan.

Case Study from Germany-ต้านเก็บคาร์บอน CO2 ใต้ดิน

โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดแห่งแรกนี้ได้เริ่มเดินเครื่องเมื่อ ปี 2008 ประสบความสำเร็จในเรื่องของเทคโนโลยีกำจัด CO2 ไปเรียบร้อยแต่เมื่อเข้าถึงขั้นตอนของการ Storage ได้เกิดการต่อต้านจากคนท้องถิ่นในกระบวนการ Storage ที่จะฉีด (inject) CO2 เข้าไปลึก 1 กม. ใต้พื้นดิน เนื่องจากกลัวผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตคน ในกรณีที่ CO2 ปริมาณมากความดันสูงจะพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกของพื้นดิน ทำให้บริษัทต้องตัดสินใจปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศ

900 กิโลจากไทย-โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวียดนาม Ninh Thuan

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม ถึงปี ค.ศ. 2030 ภายใต้การนำของนายกฯ Nguyen Tan Dung ที่อนุมัติเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 53 ให้สร้างทั้งหมด 8 แห่ง โดยมีกำลังผลิตรวมประมาณ 15,000 – 16,000 MW ด้วยกัน
ประเทศไทย ที่มาพร้อมกับโชคช่วยหรืออย่างไร ที่สามารถแก้วิกฤตน้ำมันได้ด้วยการค้นพบก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย จนวันนี้ ถึงคราวที่ต้องเผชิญกับการตัดสินใจด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกรอบซะแล้ว!!!

สถานการณ์โรงไฟฟ้าในประเทศไทย

สถานการณ์โรงไฟฟ้าในประเทศไทย หลังจากที่เล่ม PDP2010 ฉบับใหม่ได้เผยโฉม จึงต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ใหม่ที่เคี่ยวกว่าเดิม

PDP 2010 ใน Nickname ว่า Green PDP

มีสาระสำคัญจาก ครม. เมื่อ 23 มี.ค. 53 ตามนี้ค่ะ
สำหรับหน่วยงาน กฟผ. – การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกเล่ม PDP2010 เป็นทางการ เมื่อเดือนเม.ย. 53 ตามนี้ค่ะ
และตบท้ายด้วยการสกัด PDP ดูเรื่องการลด CO2 ว่าจะมาถึงเมื่อไร เพื่อเตรียมรับมือกันให้ทันคะ

EIA vs. HIA (ศัพท์ใหม่ที่เจ้าของโครงการฯ ต้องรู้)

HIA มองลึกกว่า EIA และยังผนวกเอามิติของการประเมินผลกระทบสะสมด้วย (Cumulative Impact Assessment) ในขณะที่ EIA ไม่ต้องคิดมาก เอาแค่ตามกฎหมายระบุโดยมิได้คำนึงถึงว่าน้ำหรือบรรยากาศในบริเวณนั้นอิ่มตัวและรองรับหรือเจือจางได้อีกหรือเจือจางได้อีกหรือไม่ มิำได้คำนึงถึงว่าบุคคลหรือชุมชนที่มีภูมิแพ้สารมลพิษจะกระทบหรือไม่ EIA ให้ผลลัพธ์ว่า เจ้าของโครงการ ต้องทำอะไรบ้าง มิให้กระทบต่อคุณภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ พืชหรือทำได้แต่สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมีค่าเปลี่ยนแปลงไปไม่เกินมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด ส่วน HIA ให้ผลลัพธ์ว่าเจ้าของโครงการต้องทำอะไรบ้างที่มิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพบุคคลและชุมชน นี่เองจึงเป็นจุดกำเนิดของ Corporate Social Responsibility: CSR

Mekong River แม่น้ำโขงร่วมกันพัฒนาหรือทำลาย: ประเด็นจีน

สาเหตุของปัญหาที่สำคัญอีกอย่าง เนื่่องจากเป็นสายน้ำสายเดียวกันที่มีการวางแผนสร้างเขื่อนอยู่มากมายเช่นนี้ การจะผลิตไฟฟ้าด้วยเขื่อนทั้งหลาย คงต้องวางแผนกันอย่างดีจากการกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อเขื่อนท้ายน้ำลำดับถัดไป อย่างน้อยก็ระยะเวลาน้ำสูงถึงระดับที่จะเดินเครื่องได้ เพราะถ้าไม่ได้วางแผนร่วมกันระหว่างประเทศแล้ว คงมีจังหวะที่ประชาชนคนท้ายน้ำต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

1 2 3