Case Study from Germany-ต้านเก็บคาร์บอน CO2 ใต้ดิน

คำนิยามของ Clean Coal Technology ค่อนข้างกว้างครอบคลุมทุกเทคโนโลยีที่พัฒนาเพื่อมุ่งการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตพลังงานหรือกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน ซึ่งเรื่อง Carbon Capture & Storage ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่และสำคัญล่าสุด ในหลายประเทศ เช่น เยอรมันนี, อเมริกา ได้ทุ่มเงินลงทุนมหาศาลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์และตอบสนองทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและคุ้มค่าต่อการลงทุน

เมื่อเริ่มกันที่คำว่า CCS ที่ได้ยินกันบ่อยๆ มาจาก CO2 Capture and Storage การ Capture CO2 ทำได้ทั้งก่อนและหลังกระบวนการผลิตไฟฟ้า (precombustion และ postcombustion) หลังจากนั้นก็ ส่งไปยังที่ Storage โดยผ่านท่อก๊าซ, เรือ หรือ รถบรรทุก (Transportation) และการ Storage ไว้ได้อย่างถาวร และปลอดภัยทั้งต่อสุขภาพชีวิตคน สิ่งแวดล้อม โลกนี้ เรียกว่า Sequestration นั่นเอง โดยที่ทุกเทคโนโลยีไม่ว่าจะจับ CO2 ( Capture) มายังไง ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการ Storage!!! ทั้งสิ้น

CO2 Capture, Transportation, Sequestration
CO2 Capture, Transportation, Sequestration

วิธีหนึ่งของการ Storage เป็น Case Study ที่ยกมาใน blog วันนี้ คือการเก็บ CO2 จากบรรยากาศมาไว้ใต้ดิน (Geological Storage) โดยได้รับการสนับสนุนจาก EU ชื่อว่า Vattenfall’s CO2-free Power Plant Project เหตุเกิดที่ประเทศเยอรมัน ระหว่างขั้นทดลอง Pilot Plant โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant) ขนาด 30 MW ใช้เทคโนโลยีกำจัดคาร์บอนแบบ Oxyflue Combustion สร้างขึ้นที่ Schwarze Pumpe ทางใต้กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน

Vattenfall's CCS project phase
Vattenfall's CCS project phase

โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดแห่งแรกนี้ได้เริ่มเดินเครื่องเมื่อปี 2008 (click อ่านความคืบหน้าโครงการ) ประสบความสำเร็จในเรื่องของเทคโนโลยีกำจัด CO2 ไปเรียบร้อยจาก phase ของโครงการด้านบน แต่เมื่อเข้าถึงขั้นตอนของการ Storage ได้เกิดการต่อต้านจากคนท้องถิ่นในกระบวนการ Storage ที่จะฉีด (inject) CO2 เข้าไปลึก 1 กม. ใต้พื้นดิน

จากการศึกษาวิธีการที่เรียกว่า Deep Saline Geological formations ที่พบว่า ลึกลงไปกว่า 800 m. ใต้พื้นดินจะไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในส่วนที่ประชาชนใช้ดื่มอย่างแน่นอน
…Deep saline geological formations, containing salty water are possible as storage for CO2. Suitable formations are typically located at least 800 metres underground and contain salty water that is not fit to drink. The carbon dioxide partially dissolves in the water and in some cases slowly reacts with minerals to form carbonates, thereby permanently trapping the carbon dioxide underground…

เนื่องจากคนในท้องถิ่นกลัวผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตคน ในกรณีที่ CO2 ปริมาณมากความดันสูงจะพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกของพื้นดิน ทำให้บริษัทต้องตัดสินใจปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศ

CSR-Corporate Social Responsibility

การต่อต้านอย่างรุนแรงของประชาชนที่อาศัยบริเวณดังกล่าวตามแหล่งข่าว (วันที่ 10 เมษายน 2553)นี้ เห็นได้ชัดจากการที่ประชาชนขาดความเชื่อถือบริษัทอย่างรุนแรง ทำให้เมื่อมีสิ่งที่เค้าสงสัยแต่ไม่ได้รับการชี้แจงด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ หรือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัจจุบันซะตั้งแต่เริ่มต้น เช่น ตัวอย่างตั้งแต่ปี 1986 ที่นำวิธีการนี้ไปเปรียบเทียบกับการรั่วออกมาของ CO2 ที่บริเวณรอยแยกภูเขาไฟ (หัวข้อ CO2 Storage and Sequestration) เป็นต้น จนกระทั่งปัจจุบันบานปลายถึงขั้นไม่ยอมรับระดับนโยบายประเทศไปแล้ว ทำอะไรก็สามารถโยงไปสู่ความผิดได้ทั้งหมด มองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้ด้วย ประเด็นนี้สามารถชี้ชัดไปที่เรื่องการสื่อสารทำความเข้าใจ หรือ CSR – Corporate Social Responsibility อย่างชัดเจน

Legal and Regulations

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งประสบปัญหาคล้ายกับเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย คือ การที่ไม่มีกฎหมาย หรือระเบียบปฏิบัติที่ยอมรับอย่างเป็นทางการของหน่วยงานรัฐบาลก่อนที่จะลงพื้นที่ ทำให้เมื่อประชาชนรู้สึกเหมือนไม่มีสิ่งคุ้มครองได้เลย ถามอะไรไป บริษัทก็ตอบเค้าไม่ได้ทั้งหมด นี้ก็จุดประกายของความไม่เชื่อใจด้วยนั่นเอง

Carbon Market Price

ด้วยเหตุผลที่ Trend นี้มาแรง และจะส่งสัญญาณแรงขึ้นไปอีกหลัง Kyoto Protocal คือ มันเป็นความคุ้มค่ากว่าที่จะมุ่งหาซื้อ Carbon Offset ในตลาดคาร์บอน เพราะนักลงทุนย่อมไม่เสี่ยงต่ออะไรที่ยังมีสัญญาณของความไม่แน่นอนที่เทคโนโลยีการ Storage CO2 จะถูกทำให้ราคาต่ำลงได้ท่ามกลางการต่อต้านที่รุนแรงเช่นนี้

กรณี Vattenfall ต้องจ่ายสูงถึง €55 per tonCO2e และพยายามให้ราคาลดต่ำลงมาที่ €20 per tonCO2e เพื่อให้ได้ Economic of Scale ภายในปี 2020 (ขณะที่ World Energy outlook คาดการณ์ไว้ในปี 2020 ราคา CO2 ในตลาดอยู่ที่ €39 ซึ่งปัจจุบัน ตลาดคาร์บอนขายกันอยู่ที่ €13 per tonCO2e จาก pointcarbon.com)

ทำให้ประเทศพัฒนาแล้ว (Annex I) หลายประเทศย่อมหันมาสนใจซื้อ Carbon ในตลาดมากกว่าที่จะลงทุนในเทคโนโลยีนี้แน่แน่!!!