Energy Outlook

CEPSI2010 at a glance

งานประชุมสัมมนาวงการผู้ผลิตไฟฟ้าแห่งเอเชียนี้ ปีนี้จะจัดที่ประเทศไต้หวัน และได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 แล้ว ผู้เขียนเองได้มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมเวทีแห่งนี้ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 2 โดยในปีนี้ได้มีโอกาสนำเสนอใน Technical sessions ของปัญหา Steam Turbine ที่พบแล้วแก้ปัญหายากมากๆ ระดับ OEMs ยังกุมหัว คือ Subsynchronous Vibration

พลังงานทดแทนไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงมิใช่สูตรสำเร็จของการแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในบ้านเรา อย่างมากก็คงจะเป็นได้แค่เพียงทางเลือกของการจัดหาพลังงานชนิดหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น แต่คงไม่ใช่ทางรอดที่เราคิดจะพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนแต่เพียงอย่างเดียว

900 กิโลจากไทย-โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวียดนาม Ninh Thuan

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม ถึงปี ค.ศ. 2030 ภายใต้การนำของนายกฯ Nguyen Tan Dung ที่อนุมัติเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 53 ให้สร้างทั้งหมด 8 แห่ง โดยมีกำลังผลิตรวมประมาณ 15,000 – 16,000 MW ด้วยกัน
ประเทศไทย ที่มาพร้อมกับโชคช่วยหรืออย่างไร ที่สามารถแก้วิกฤตน้ำมันได้ด้วยการค้นพบก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย จนวันนี้ ถึงคราวที่ต้องเผชิญกับการตัดสินใจด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกรอบซะแล้ว!!!

PDP 2010 ใน Nickname ว่า Green PDP

มีสาระสำคัญจาก ครม. เมื่อ 23 มี.ค. 53 ตามนี้ค่ะ
สำหรับหน่วยงาน กฟผ. – การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกเล่ม PDP2010 เป็นทางการ เมื่อเดือนเม.ย. 53 ตามนี้ค่ะ
และตบท้ายด้วยการสกัด PDP ดูเรื่องการลด CO2 ว่าจะมาถึงเมื่อไร เพื่อเตรียมรับมือกันให้ทันคะ

EIA vs. HIA (ศัพท์ใหม่ที่เจ้าของโครงการฯ ต้องรู้)

HIA มองลึกกว่า EIA และยังผนวกเอามิติของการประเมินผลกระทบสะสมด้วย (Cumulative Impact Assessment) ในขณะที่ EIA ไม่ต้องคิดมาก เอาแค่ตามกฎหมายระบุโดยมิได้คำนึงถึงว่าน้ำหรือบรรยากาศในบริเวณนั้นอิ่มตัวและรองรับหรือเจือจางได้อีกหรือเจือจางได้อีกหรือไม่ มิำได้คำนึงถึงว่าบุคคลหรือชุมชนที่มีภูมิแพ้สารมลพิษจะกระทบหรือไม่ EIA ให้ผลลัพธ์ว่า เจ้าของโครงการ ต้องทำอะไรบ้าง มิให้กระทบต่อคุณภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ พืชหรือทำได้แต่สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมีค่าเปลี่ยนแปลงไปไม่เกินมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด ส่วน HIA ให้ผลลัพธ์ว่าเจ้าของโครงการต้องทำอะไรบ้างที่มิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพบุคคลและชุมชน นี่เองจึงเป็นจุดกำเนิดของ Corporate Social Responsibility: CSR

ASEAN Energy Outlook ตอนที่ 2/2

จากการเพิ่มของเชื้อเพลิง Coal และ Natural Gas ในการผลิตกระแสไฟฟ้าควรที่จะเพิ่มไปพร้อมๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น Thermal Efficiency คาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นจาก 38% ในปี 2005 ไปสู่ 44% ในปี 2030
Coal Consumption ที่เพิ่มสูงถึงเกือบ 10 เท่า จะทำให้ ASEAN ต้องรับมือกับ CO2 emission ที่เพิ่มสูงขึ้น ในแง่ของนโยบาย คือ ต้องเพิ่มโครงการ CDM และนอกจากความร่วมมือในโครงการ ASEAN Power Grid ทั้ง 14 Interconnections ยังมีความร่วมมือโครงการ Trans-ASEAN Gas Pipeline

ASEAN Energy Outlook 2030 ตอนที่ 1/2

ความต้องการการใช้ไฟฟ้าเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่อัตราการเพิ่มขึ้นนั้นสูงที่สุดที่ 6.1% ต่อปี จากเพียงแค่ 38 Mtoe ในปี 2005 เพิ่มสูงถึง 164 Mtoe ในปี 2030 (Base Case) อัตราการเติบโตของการใช้ Coal สูงถึง 5.9% ต่อปี ถัดมาคือ Natural Gas ที่ 5% ต่อปี และในแง่การผลิตกระแสไฟฟ้าแยกตามชนิดโรงไฟฟ้า และแยกตามเชื้อเพลิง ได้คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีอัตราเพิ่มขึ้น 6.1% คือ 2,234 TWh (Base Case) และ 7.2% คือ 2,923 TWh (High Case) ในปี 2030

1 2 3