Carbon Capture Storage

ถ่านหินสะอาดมาแรง! บทสรุปเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าคู่สิ่งแวดล้อมทศวรรษนี้

โรงไฟฟ้าปัจจุบันที่ต้องคำนึงถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การลดมลภาวะ SOx NOx รวมถึง CO2 นั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คือ วิธีการที่ใช้ได้เชิงพาณิชย์ และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ในอนาคตอันใกล้นี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาเทคโนโลยี Combustion และ Gasification อีกด้วย

Power Engineering Magazine อัพเดท

โรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างใหม่ในอเมริกา ต้องปล่อย CO2 ไม่เกิน 1,100 pounds/MWh คือ โรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำตามมาตรฐานเท่านี้ได้ ต้องเพิ่มระบบดักจับและกักเก็บ CO2 (Carbon Capture and Storage) ด้วย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงธุรกิจ

Case Study from Germany-ต้านเก็บคาร์บอน CO2 ใต้ดิน

โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดแห่งแรกนี้ได้เริ่มเดินเครื่องเมื่อ ปี 2008 ประสบความสำเร็จในเรื่องของเทคโนโลยีกำจัด CO2 ไปเรียบร้อยแต่เมื่อเข้าถึงขั้นตอนของการ Storage ได้เกิดการต่อต้านจากคนท้องถิ่นในกระบวนการ Storage ที่จะฉีด (inject) CO2 เข้าไปลึก 1 กม. ใต้พื้นดิน เนื่องจากกลัวผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตคน ในกรณีที่ CO2 ปริมาณมากความดันสูงจะพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกของพื้นดิน ทำให้บริษัทต้องตัดสินใจปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศ

PDP 2010 ใน Nickname ว่า Green PDP

มีสาระสำคัญจาก ครม. เมื่อ 23 มี.ค. 53 ตามนี้ค่ะ
สำหรับหน่วยงาน กฟผ. – การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกเล่ม PDP2010 เป็นทางการ เมื่อเดือนเม.ย. 53 ตามนี้ค่ะ
และตบท้ายด้วยการสกัด PDP ดูเรื่องการลด CO2 ว่าจะมาถึงเมื่อไร เพื่อเตรียมรับมือกันให้ทันคะ

โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินสะอาด

หลังจากการเปิดตัว The World 1st Clean Coal Fired Power Plant ที่ประเทศเยอรมันนีเมื่อเดือนกันยายนปี 2551 ไปแล้วนั้น แม้ว่ามีแรงโจมตีเรื่องความเสี่ยงจากการระเบิดออกของก๊่าซคาร์บอนไดออกไซด์ความดันสูงที่ฝังใต้ดินนั้น แต่บทสรุปสุดท้ายชาวโลกก็ยังคงต้องการเทคโนโลยีรองรับให้กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ดีกว่าปล่อยลอยอยู่ในบรรยากาศอยู่ดี ทั้งที่ฝั่งอเมริกายังกักไม่ยอมลงนาม Kyoto Protocol แต่กลับมี Roadmap เป็นตัวเป็นตนที่ร่วมมือกับประเทศจีนที่ออกมาหมาดหมาดเมื่อเดือนมกราคม ปี 2552 นี้เอง