Social Network กับองค์กรด้านพลังงาน (2)

พลังขับเคลื่อนของ Social Media ต่อจุดประสงค์ของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย และผลจากกลุ่มตอบรับ ทั้งยังแปรตามรูปแบบความเคลื่อนไหวที่ต้องการ เช่น ปตท. มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ลักษณะของ Animation ที่ใช้จึงเหมือนเลี้ยง ทามาก๊อตจิ ขณะที่ กฟผ. ปลูกแล้วปลูกเลย ยังไงก้อตามน่าสนใจที่ทัังสององค์กรทุ่มกับ Social Media ได้มากขนาดนี้

Social Network กับองค์กรด้านพลังงาน (1)

ช่วงนี้ Trend ขององค์กรด้านพลังงานท่าจะมาแรงในเรื่องของการปลูกต้นไม้ online เห็นทั้ง spot จากสื่อโทรทัศน์ และทั้งบนเว็บไซต์เอง ทั้ง EGAT-กฟผ. และ PTT-ปตท.
ดูเหมือนจะเป็นการสร้างSocial Network ของบุคคลที่ชอบทำเพื่อโลกสีเขียวใบนี้ ทำเพื่อพ่อหลวงของเรา ซึ่งเป็นหลักการของ Social Network ของแท้ที่เริ่มต้นจากสังคมออนไลน์ที่ใช้ Social Media ที่มีจุดประสงค์ร่วมกัน แล้วก็มาเจอกันจริงๆ ตัวเป็นๆ

สถานการณ์โรงไฟฟ้าในประเทศไทย

สถานการณ์โรงไฟฟ้าในประเทศไทย หลังจากที่เล่ม PDP2010 ฉบับใหม่ได้เผยโฉม จึงต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ใหม่ที่เคี่ยวกว่าเดิม

Green Island-Samui

โครงการ Green Island Project ซึ่งมีแผนดำเนินการ 10 ปีเริ่มตั้งแต่ปี 2551 จะทำให้ Samui กลายเป็น Low Carbon Destination อันดับแรกๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

PDP 2010 ใน Nickname ว่า Green PDP

มีสาระสำคัญจาก ครม. เมื่อ 23 มี.ค. 53 ตามนี้ค่ะ
สำหรับหน่วยงาน กฟผ. – การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกเล่ม PDP2010 เป็นทางการ เมื่อเดือนเม.ย. 53 ตามนี้ค่ะ
และตบท้ายด้วยการสกัด PDP ดูเรื่องการลด CO2 ว่าจะมาถึงเมื่อไร เพื่อเตรียมรับมือกันให้ทันคะ

บทบาทองค์กรสีเขียว-Green Drivers

องค์กรสีเขียว หรือ องค์กรสิ่งแวดล้อมในเมืองไทย มีบทบาทที่พอจะแยกกันได้ คือ TGO เน้นด้าน CDM ,สถาบัน GSEI เน้นการวิจัยแง่สังคม สิ่งแวดล้อม และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเน้นการประสานงานกันระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคม

EIA vs. HIA (ศัพท์ใหม่ที่เจ้าของโครงการฯ ต้องรู้)

HIA มองลึกกว่า EIA และยังผนวกเอามิติของการประเมินผลกระทบสะสมด้วย (Cumulative Impact Assessment) ในขณะที่ EIA ไม่ต้องคิดมาก เอาแค่ตามกฎหมายระบุโดยมิได้คำนึงถึงว่าน้ำหรือบรรยากาศในบริเวณนั้นอิ่มตัวและรองรับหรือเจือจางได้อีกหรือเจือจางได้อีกหรือไม่ มิำได้คำนึงถึงว่าบุคคลหรือชุมชนที่มีภูมิแพ้สารมลพิษจะกระทบหรือไม่ EIA ให้ผลลัพธ์ว่า เจ้าของโครงการ ต้องทำอะไรบ้าง มิให้กระทบต่อคุณภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ พืชหรือทำได้แต่สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมีค่าเปลี่ยนแปลงไปไม่เกินมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด ส่วน HIA ให้ผลลัพธ์ว่าเจ้าของโครงการต้องทำอะไรบ้างที่มิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพบุคคลและชุมชน นี่เองจึงเป็นจุดกำเนิดของ Corporate Social Responsibility: CSR

ฉลากคาร์บอน – Carbon Footprint Label (1)

การสัมมนาและพิธีลงนามสัญญาการใช้เครื่องหมาย Carbon Footprint ในวันที่ 9 เมษายน 2553 เป็นความร่วมมือระหว่าง องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (TGO-Thailand Greenhouse Gas Management Organization) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ในพื้นที่จัดงานมีบริษัทต่างๆ จัด Booth แสดงสินค้าที่ได้รับฉลาก Carbon Footprint
สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือ การทำโครงการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือโครงการเกี่ยวกับ CO2 แบบโครงการฉลาก Carbon Footprint นี้เป็นกลยุทธ์ในการทำ CSR ได้อย่างมีการ Support เชิงเทคนิคระดับโลกทีเดียว และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับกับระบบ ISO14025 ซึ่งคาดว่าน่าที่จะมีทุกอุตสาหกรรมที่ต้องผ่านการประเมินฯ ในอนาคตด้วย

Dhamma-บทเรียนจากการปฏิบัติ รู้อัตตาตัวเองซะที!!!

ที่ว่ารู้ อัตตา ตัวเองเนี่ย ถ้าไม่พูดก็ไม่มีคนมาเตือน แต่ในทางธรรมะก็มีแต่คนพูดว่า ไม่ควรพูดให้มากเพราะจะฟุ้ง ตอนแรกก้อสงสัยแล้วจะเอายังไงเนี่ย ยังไงเนี่ย ก็ได้คำตอบมาจากคอร์สที่มาอบรม (อานาปานสติ ณ วัดสุนันทวนาราม) ว่าพูดได้เมื่อมีจังหวะ โอกาสที่เหมาะสม…สำหรับผู้ที่มาเตือนก็เป็นพี่สาวผู้ใจดี พี่ต๋อย นั่นเอง ที่บอกว่า ถ้าเรารู้สึกว่าเอาชนะตัวเองได้ อดทนนั่งได้นาน กระหยิ่มยิ้มย่อง ก็เรียกว่า เรามีอัตตาแล้วหล่ะ เพราะฉะนั้นก็ให้ทำแบบตามรู้ไป ตามรู้ว่าอดทน ก็ได้วิริยะขันติ ตอนเรากระหยิ่มยิ้มย่อง ก็ให้รู้ว่าเรารู้สึกถึงอัตตา ก้อ OK แล้วหล่ะสำหรับปุููุถุชนอย่างเราเรา 😀

1 9 10 11 12 13 15