ประหยัดไฟฟ้า-Energy Efficiency-ช่วยญี่ปุ่นรอดวิกฤตไฟฟ้า

จากเหตุการณ์มหันตภัยยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าอย่างมาก

สึนามิทำให้กำแพงกั้นน้ำที่วิศวกรญี่ปุ่นสร้างไว้เตี้ยไปถนัดตา จึงทำให้น้ำทะลักเข้ามายังระบบไฟฟ้าสำรองดีเซลทำงานไม่ได้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi เกิดเหตุขัดข้อง นายกฯ ญี่ปุ่นจึงสั่งห้ามโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องโดยเด็ดขาด แถมโรงนิวเคลียร์อื่นๆ ของบริษัท Tokyo Electric Power Co. (TEPCO) ต้องหยุดเครื่องลงมาซ่อมบำรุง และค่อยๆ ลดกำลังผลิตไปทีละเครื่องด้วย ที่ผ่านมาจึงเกิดวิกฤตไฟฟ้าไม่พอจ่าย

ช่วงพีคโหลดของญี่ปุ่นคือช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนสิงหาคม แต่ช่วงพีคโหลดของไทยอยู่ในฤดูร้อน เดือนพฤษภาคมของทุกปี อ่านเรื่องพีคโหลดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

รัฐบาลขอความร่วมมือจากทุกอุตสาหกรรม บริษัทเล็กใหญ่ บ้านเรือนประชาชน ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ(Kanto and Tohoku regions) ช่วยกันประหยัดไฟฟ้าอย่างจริงจังเพื่อให้พีคโหลดลดลงมาให้ได้ถึง 25% (25% cut in peak demand)

ไฟฟ้าขาดช่วงพีคโหลดสูงถึง 15 GW : การประหยัดไฟฟ้าเกิดขึ้นอัตโนมัติ

TEPCO คาดการณ์ไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อ Demand ช่วงพีคโหลดหน้าร้อนที่จะถึงนี้สูงถึง 15 GW แม้ช่วง เม.ย. 2011 ที่รัฐบาลยังไม่ทันประกาศมาตรการออกมาก การตื่นตัวของคนในประเทศในการประหยัดการใช้ไฟฟ้าก็เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ทั้งการหยุดใช้ลิฟท์ในอาคารสูง การลดจำนวนหลอดไฟฟ้าที่เปิดใช้งาน การลดความสว่างของหลอดไฟลงตรงที่ที่ไม่จำเป็นมาก (dimmend lights) เป็นต้น

ส่วนภาคอุตสาหกรรม ศึกษาการย้ายการผลิตบางส่วนไปยังภาคตะวันตกของประเทศที่ระบบไฟฟ้ายังไม่เสียหายมาก รวมถึง การเปลี่ยนแผนมาผลิตสินค้าเยอะขึ้นในช่วงวันหยุด และช่วงกลางคืน เพื่อให้ match กันกับช่วงนั้นที่ demand ต่ำลงด้วยนั่นเอง

ความถี่ในระบบไฟฟ้าของประเทศแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 3 บริษัทฝั่งภาคตะวันออก 50Hz และอีก 7 บริษัทที่เหลือภาคตะวันตกผลิตไฟฟ้าที่ความถี่ 60Hz ซึ่งภาคตะวันตกมี Capacity เกินกว่า Demand ถึง 13 GW

อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์สึนามิประมาณ 4 (กลางเดือน ก.ค.2011) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และพลังความร้อนฝั่งตะวันตกพบปัญหาด้านเทคนิคจึงทำให้ต้อง Shutdown โรงไฟฟ้าลงไป ทำให้ Capacity หายไปกว่า 2 GW

ไทยรื้อถอนโรงไฟฟ้าก๊าซเทอร์ไบน์ลดความรุนแรงวิกฤต


กฟผ. ทำการรื้อถอน Gas Turbine 2 x 122 MW รวมอุปกรณ์ Auxiliaries และ Spare Parts ทั้งหมดจากโรงไฟฟ้าหนองจอก ขนส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อลำเลียงขึ้นเรือไปยังประเทศญี่ปุ่น โดย Gas Turbine เครื่องแรกไปถึง Kanagawa วันที่ 20 พ.ค. 2011 ส่วนเครื่องที่ 2 ถึงวันที่ 24 พ.ค.2011 และติดตั้งที่โรงไฟฟ้า Oi ในพื้นที่ Tokyo และคาดการณ์ว่า Gas Turbine 2 เครื่องนี้จะเดินเครื่องที่ประเทศญี่ปุ่นประมาณ 3-5 ปีเพื่อบรรเทาสถานการณ์วิกฤตไฟฟ้า

เข้าสู่โหมด Power-Savings และค่าไฟฟ้าสูงขึ้น 18-36%

รัฐบาลออกมาตรการประหยัดพลังงานทั้งประเทศ ตั้งแต่ ก.ค. 2011 ซึ่งปรากฎว่าฤดูร้อนเข้ามาย่ำกรายประชาชนญี่ปุ่นเร็วกว่าปกติอีก

มีรายการทีวีทุกเช้า “Electricity forcast” ประกาศ พีคโหลดคาดการณ์รายวัน และแสดง maximum utilization factor ให้เห็นทั้งประเทศ

การคาดการณ์โรงไฟฟ้าประเภทอื่นที่จะเข้ามาทดแทน Capacity ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่หายไป 38 จากทั้งหมด 54 Reactors ทั่วประเทศ ทำให้การวางแผนถึงปี 2012 ลงทุนเพิ่มโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง Fossil สูงขึ้นถึง 45% นั่นคือ ส่งผลถึงค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายสูงขึ้น 18% สำหรับบ้านเรือน และ 36% ในภาคอุตสาหกรรม