Optimization

วงจรชีวิตของผู้ผลิตไฟฟ้า

เจ้าของบริษัทจะยอมให้เสียความพร้อมการผลิตไฟฟ้า จากความเสียหายอุปกรณ์ไม่ได้เลย เพราะนั่นหมายถึงรายได้ของบริษัทวันละหลายสิบล้านบาททีเดียว ดังนั้น งานซ่อมของโรงไฟฟ้าเหล่านี้นอกจากจะซ่อมกันทุกปีเมื่อมีเวลาว่าง แล้วก็มักจะทำตามบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรเหล่านั้นอย่างเคร่งครัด (บางทีก็ Over Maintenance กันแบบไม่รู้ตัว อุปกรณ์อาจไม่ได้ดีขึ้น แต่แย่ลงกว่าเดิมก็เป็นได้) ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนได้ในแง่ของความรู้ที่เก็บสะสมของผู้ทำงานในไทยเองว่า จะไม่ได้เก็บสะสมความรู้ในการซ่อม คิด ประดิษฐ์สิ่งทดแทนมาใช้ในงานซ่อม แต่ใช้วิธีซื้อ Parts เปลี่ยนซะเป็นส่วนใหญ่

คำจำกัดความเรื่อง”การปรับปรุงโรงไฟฟ้า”ที่พูดทีไร แล้วเป็น งง ทุกที

คำจำกัดความเรื่อง “การปรับปรุงโรงไฟฟ้า” นี้ ได้ยินครั้งแรกๆ ในประเทศไทยสักเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ก็คงเป็นเพราะโรงไฟฟ้าเริ่มแก่ ต้องกินยาบำรุงกันหน่อย หรือเปลี่ยนอวัยวะภายในให้กระชุ่มกระชวย [blog] นี้ได้ทดลองจับกลุ่มคำต่างๆ เหล่านี้ คงจะพอทำให้ไม่สับสน และจำกันได้ง่ายขึ้นน่ะค่ะ

CEPSI 2008: Power Plant Outage Optimization

Power Plant Outage Optimization เป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ในกลยุทธ์ของยุคนี้เลยทีเดียว ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องประสิทธิภาพในเชิงการผลิตเพียงอย่างเดียว ถ้าโรงไฟฟ้าไหนใช้เชื้อเพลิงแบบ Clean Energy ซ่อมให้เร็วและดียังช่วยลดคาร์บอนได้แบบไม่รู้ตัวอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน บอกว่าการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือสิ่งที่สามารถทำได้เลย ณ ขณะนี้ ในส่วนของ Technology ที่จะเข้ามาใหม่ทำให้เกิด Efficiency ที่สูงขึ้น หรือช่วยดักจับและกำจัดคาร์บอนนั้นต้องใช้เวลาศึกษากันจนเป็นรูปเป็นร่างคงอีกหลายปีทีเดียว บางท่านอาจสงสัยว่าทำไม Outage Optimization ทั้งโรงไฟฟ้าฯ ถึงได้พูดแต่เรื่อง Steam Turbine ความจริงก็คือ ทุก Activity ของ Steam Turbine ใน Outage อยู่บน Critical Path นั่นเอง ก่อนที่จะนำเสนอกระบวนการ Optimization นี้จำเป็นจะต้องผ่านการวิเคราะห์โดยใช้หลักการของ CPM-Critical Path Method จึงจะถูกต้อง ร่วมกับกระบวนการทำ Optimization และ Risk Assessment เพื่อการตัดสินใจ