อึ้ง! ไทยใช้เชื้อเพลิงถูกได้อีกไม่เกิน 3 ปี

เรื่องพลังงาน ราคาน้ำมัน ราคาก๊าซฯ มีความ Sensitive ต่อนโยบายรัฐบาล และแน่นอน Sensitive ต่อค่าครองชีพของประชาชน ที่เห็นข่าวเรื่องสินค้าในตลาดแพงอย่างทุกวันนี้ ประชาชนทั่วไปที่มองเห็น ว่าน้ำมันเป็นต้นทุนของสินค้าเกือบทุกอย่างแล้ว ย่อมเห็นแล้วว่า ปัญหาเรื่องพลังงานแทบจะเป็นเรื่องเดียวกับเรื่องปากท้องของเรา!!!

และที่ว่าไม่เกิน 3 ปีนี้ก็สืบเนื่องมาจากการที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC) ภายในปี ค.ศ.2015 นี้เอง

ดูแบบไม่ซับซ้อนก็เหมือนจะดีที่ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราว เพราะราคาย่อมลดลงไปแบบทันตาเห็น

แต่ถ้าโครงสร้างพลังงานบิดเบี้ยวไม่ balance ให้ดี ก็จะทำให้นอกจากกระทบกับนโยบายส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงไบโอ หรือพลังงานทดแทน(ทดแทนน้ำมัน) ให้ชะงักงันแล้ว ถ้าเมื่อไรค่าน้ำมันดิบมันสูงขึ้นมากจนรับไม่ไหว เราก็จะขาดเงินมาช่วย Absorb ให้กับประชาชนอย่างหันหน้าพึ่งใครไม่ได้เลย

การที่นโยบายรัฐบาลพยายามช่วยให้ประชาชนใช้ทั้งน้ำมัน ทั้งก๊าซฯ ทั้งไฟฟ้า ราคาถูกกว่าราคาที่เป็นจริง เป็นการช่วยประชาชนระดับหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันการขาดการสื่อสารเชิง Educate อย่างต่อเนื่องถัดจากนั้น ก็ทำให้คนไทยไม่รู้ว่า ถึงเวลาที่ต้องประหยัดกันแล้ว เพราะเราไม่มีทางซึ้อพลังงานราคาถูกได้อีกต่อไป มาดูกันให้ลึกซึ้งว่าสภาวะของพลังงานแท้จริงเป็นอย่างไรในแง่การเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านของเรา

ราคาก๊าซ NGV LPG เปรียบเทียบ ASEAN

ไทยขายก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี (LPG-Liquefied Petroleum Gas) ราคาถูกกว่าทุกประเทศใน ASEAN:
ไทย 18.13 บาท/kg
มาเล 20.00 บาท/kg
กัมพูชา 45.40 บาท/kg
เวียดนาม 59.00 บาท/kg
พม่า 34.00 บาท/kg
ลาว 48.91 บาท/kg

กรณีลักลอบถังก๊าซแอลพีจีราคาถูกจากประเทศไทยออกไปยังชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เหมือนเราต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้ประเทศเพื่อนบ้านใช้ก๊าซฯ ราคาถูกด้วย ต่อไปเมื่อเปิดการค้าเสรี (AEC: ASEAN Economic Community) ก๊าซฯ ขายได้เสรีเหมือนสินค้าทั่วไป ความสามารถการแข่งขันของเราก็จะลดลง

สำหรับภาคขนส่ง ที่ตรึงราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ ก๊าซเอ็นจีวี (NGV: Natural Gas for Vehicles) ไว้ที่ 8.50 บาท/kg เป็นระยะเวลา 7 ปีมาแล้ว และถ้ายังทำต่อเนื่องไปก็เหมือนให้ประเทศเพื่อนบ้านขับรถข้ามชายแดนมาเติมก๊าซฯ บ้านเรากันเยอะ และเราก็ต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้เพื่อนบ้านส่วนหนึ่งนั่นเอง

ดังนั้น เราจึงควรรักษาผลประโยชน์ของประเทศด้วยการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่จริง

แอนนิเมชั่น “รู้ทันก๊าซ” ตอนนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้ใช้แรงจูงใจจากการมุ่งสู่ AEC ให้ประชาชนเห็นว่าเราควรรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ให้ประเทศอื่นมาช่วยใช้เงินของประเทศเรา โดยผ่านการที่รัฐบาลใช้นโยบายช่วยอุดหนุนราคา (Subsidize) ทั้ง NGV และ LPG

ไม่เช่นนั้นการ Educate ประชาชนว่า เราต้องจ่ายแพงขึ้นสำหรับสาธารณูปโภค คงเป็นเรื่องที่ยากทีเดียว เหมือนทำสงครามกับประชาชน!!!

ค่าไฟฟ้ากับ ASEAN

อัตราค่าไฟฟ้าของไทยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft: Fuel Adjustment Charge) กรณีอัตราค่าไฟฟ้าต่ำนั้นขึ้นอยู่กับทั้ง 2 ส่วน แต่ที่เห็นชัด คือ การตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ไม่ให้ขึ้นตามราคาเชื้อเพลิง ในอดีตมีการทำมาแล้วช่วงราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงมาก รัฐบาลจึงลดความเดือดร้อนของประชาชน มีมติให้ตรึงค่า Ft ตั้งแต่ปลายปี 2551 จนถึงปลายปี 2553 ทีเดียว ไม่ต่างจากที่ตอนนี้รัฐบาลได้ตรึงค่าก๊าซเอ็นจีวี ที่ 8.50 บาท/kg มาตั้งแต่ปี 2546

แม้ว่าอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยจะถูก แต่เรื่องไฟฟ้านั้นยังโชคดีหน่อยที่เพื่อนบ้านคงไม่สามารถลอบซื้อกันได้เหมือนกับถังก๊าซฯ อย่างในการ์ตูน เพราะมีคณะทำงาน APGCC – ASEAN POWER GRID Consultative Committee – ที่กว่าจะซื้อขายไฟฟ้ากันได้ ก็ต้องมีเรื่องการเจรจาเรื่องราคา สัญญา กันเรียบร้อยแล้วหล่ะ 😉

เรื่องการขายข้ามแดนผ่านโครงการ ASEAN Grid ดูจะรักษาผลประโยชน์คนไทยแน่นอน แต่ปัจจุบันที่เราใช้ไฟฟ้าราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็นในประเทศไทยกันเองนั้น ผลที่ตามมาก็คือ กกพ. หรือรัฐบาล คนกลาง จำเป็นต้องหาเงินจากภาคส่วนต่างๆ มาอุดหนุนค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ที่ขึ้นลงตามเชื้อเพลิง ซึ่งตัวแปรที่สำคัญซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า คือ เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NG: Natural Gas) นั่นเอง

สรุป

สรุปได้ว่า รัฐบาลพยายามอุดหนุนพลังงานของประเทศเกือบทั้งหมด ทั้งภาคขนส่งและภาคการผลิตไฟฟ้า

การ Educate ประชาชนว่า เราต้องจ่ายแพงขึ้นสำหรับสาธารณูปโภค น้ำมัน ก๊าซ ไฟฟ้า ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากก็จริง แต่มันเป็นสิ่งจำเป็นกับสภาวะปัจจุบันอย่างปฏิเสธไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่า จะให้ผลกระทบนั้นมาถึงประชาชนแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือจะเอาแบบฉับพลันตั้งตัวไม่ได้ หรือว่ารอจังหวะเหมาะที่เป็นรัฐบาลของใคร ?!?