แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 หรือ Thailand PDP (Thailand Power Development Plan 2010-2030) มีสาระสำคัญจาก ครม. เมื่อ 23 มี.ค. 53 ตามนี้ค่ะ
สำหรับหน่วยงาน กฟผ. – การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกเล่ม PDP2010 เป็นทางการ เมื่อเดือนเม.ย. 53 ตามนี้ค่ะ
สรุปเรื่องเทคโนโลยีจับและเก็บ CO2 : CCS-CO2 Capture & Storage
สรุปได้จาก ดร.เกรียงไกร มณีอินทร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวฯ พระนครเหนือ วันที่ 11 มี.ค. 54:
+เทคโนโลยีที่จะใช้กับโรงไฟฟ้าปัจจุบัน ควรใช้ Chemical Absorption มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
+ใช้กับ Flue Gas ที่มี 4%-15% CO2 ที่ความดันบรรยากาศ
(4%-8% ของ รฟ.เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ, 10%-15% ของ รฟ.เชื้อเพลิงถ่านหิน)
+ข้อจำกัดของสารปัจจุบัน
MEA : ดูดซับ CO2 ได้มาก แต่ต้องใช้พลังงานสูงในการเวียนสารนี้กลับมาใช้อีกครั้ง (Low Cyclic Capacity) ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง
MDEA: ใช้พลังงานต่ำในการเวียนสารนี้กลับมาใช้อีกครั้ง (High Cyclic Capacity) แต่ดูดซับ CO2 ยังไม่ดี
+ ในปี 2562 ถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องเป็นถ่านหินสะอาดเท่านั้น หนึ่งในทางเลือกคงต้องพึ่ง เทคโนโลยี IGCC-Integrated Gasification Combined Cycle ซึ่งเทคโนโลยีการจับ CO2 ที่เหมาะสมก็อาจเป็นแบบ Membrane Separation
CO2 Reduction Roadmap กับแผน PDP 2553-73
สำหรับ Roadmap ข้างบนได้สกัดออกมาจากเล่ม PDP2010 ที่เกี่ยวกับเรื่องการลด CO2 บอกได้เลยว่า มันมาถึงประเทศไทยแย้ว<<<<< >>>>>>>>