เมืองภูเก็ต ถือได้ว่า เป็นเมืองที่ สำนักงานเมืองอัจฉริยะ (DEPA) ฝังตัวมานานที่สุด และมีความตั้งใจเริ่มที่เมืองท่องเที่ยว เพราะมีตลาดชัดเจนสำหรับประเทศไทย
Blog ที่แล้ว จับสัญญาณเมืองในฐานะนักท่องเที่ยว พบ Painpoints ในการเดินทางไปกลับสนามบินมากทีเดียว แต่ก็เป็นทริปแรกที่พิสูจน์ การเดินถึงบ้านได้ด้วย (Walkable City) [ลงรถ บขส. ต่อ รถโพถ้องเข้าเมือง เลือกป้ายที่มีขนมจีบอาหารเช้าร้านเก่าแก่ และลากกระเป๋าใบเล็กเดินต่อผ่านตลาดสด และถึงที่พักได้เหมือนกันนะ] มารอบนี้ได้อัพเดทจากบริษัท PKCD ซึ่งริเริ่ม Smart Mobility กันเป็นอันดับแรกของเมืองภูเก็ตกันเลยค่ะ
มุมมอง PKCD – Phuket City Development จากคุณนิพนธ์ เอกวานิช ประธานกรรมการบริษัท PKCD #ภูเก็ตพัฒนาเมือง
Painpoints ด้วยประชากรอยู่อาศัยอยู่แบบลงทะเบียน 300,000 คน แต่เมื่อรวมประชากรแฝงทั้งหมด 2 ล้านคน นั้น จากการบริหารแบบระบบรัฐเดี่ยว จึงทำให้จังหวัดภูเก็ตได้งบประมาณเทียบเท่ากับจังหวัดอ่างทอง โดยประมาณ ดังนั้น การพัฒนาเมืองโดยภาพรวมทั้งหมด จึงอาศัยงบประมาณรัฐเพียงอย่างเดียวไม่ได้
Organization Structure โครงสร้างการบริหารบริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (Phuket City Development Co., Ltd. : PKCD) เป็นบริษัทร่วมทุนของนักธุรกิจภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีทั้งหมด 47 ท่าน รวมทุนจดทะเบียน 156 ล้านบาท ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้แนวคิด “วิสาหกิจเพื่อสังคม” โดยจะร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนในทุกระดับ เพื่อการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำในระดับโลก
PKCD ประกอบไปด้วยบริษัทในเครือ
รถ Smart Bus การริเริ่ม Smart Mobility ของภูเก็ต มีบรรยากาศที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนหนึ่งมาจากผู้ใหญ่ในจังหวัดภูเก็ตเริ่มต้นทำความเข้าใจกับรถโดยสารอื่นก่อน เพื่อให้มีการประสานประโยชน์ ไม่ได้ซ้อนทับเส้นทางกัน แต่เป็นการเสริมการขนส่งให้กับนักท่องเที่ยว และประชาชน
Case Study เมืองขอนแก่นริเริ่มทำ Smart Mobility โดยผ่านพื้นที่เทศบาล 5 เทศบาล การเจรจากับ 5 เทศบาลก็เป็นส่วนสำคัญในการชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
เสน่ห์ของการใช้ Cash ประสบการณ์ของเมืองภูเก็ต พบว่า Digital Payment ยังไม่ใช่คำตอบสำหรับ Smart Mobility ของภูเก็ต เพราะนักท่องเที่ยวมักไม่ซื้อ Smart Card แต่จ่ายเป็นเงินสด
New Business Model สิ่งที่พบระหว่างทำโครงการ คือ รถบัสกลายเป็น Taxi ระหว่างหาด ไม่ใช่แค่ Bus ไป-กลับสนามบินที่เป็นเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อเปิดบริการมาจนจนปีที่ 2 เริ่มมีกำไร จึงมีการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
City Data Platform เริ่มนำข้อมูลมาบูรณาการกัน ทำให้เห็นผังเมืองเป็น 3 มิติ เริ่ม 2 เทศบาลก่อน คือ เทศบาลวิชิต และเทศบาลป่าตอง
สำหรับ กรณี Huawei เข้ามาทำ White Paper ให้ภาครัฐ คุณนิพนธ์ให้ความเห็นว่า เป็นแนวทางกรอบกว้างๆ เนื่องจาก Huawei ทำการสำรวจ ว่าจังหวัดภูเก็ตมีการทำอะไรไปแล้ว และเสนอระบบอะไรเพื่อการต่อยอด สามารถอ่านได้จาก Smart Framework and Guidance for Thailand
โดยได้เห็น การริเริ่มการพัฒนาเมือง เริ่มจาก Painpoints ของเมือง วางเป้าหมายความเชื่อมโยงกับผู้ใหญ่ ผู้บริหารในเมืองกับผู้ประกอบการ ก่อนเริ่มทำบริการใหม่ๆ ในเมือง ได้การมีส่วนร่วม การสร้างโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและให้บริการต่อเนื่องได้ และคุณนิพนธ์ได้อัพเดทว่า ปัจจุบัน เครือข่ายในประเทศไทย มี 17 เมืองเตรียมต่อยอด จดทะเบียนบริษัทพัฒนาเมืองแล้ว ช่วยปิด Gap ที่เป็น Painpoints ของเมือง