ต่อจาก Blog ที่แล้วได้แบ่งนิยามการปรับปรุงอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าไว้เป็น 3 ระดับ ใน Blog วันนี้เพิ่มเติมการสร้างและเปลี่ยนโรงไฟฟ้าใหม่ และต่อยอดจากการปรับปรุงที่ประโยชน์นอกจากการช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตให้สูงขึ้น ลดต้นทุนเชื้อเพลิง แล้วยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกตอบสนองเป้าหมายรักษ์โลกอีกด้วย
ในฐานะประเทศที่ซื้อเทคโนโลยีมาใช้ดังประเทศไทย การสร้างโรงงานใหม่ย่อมต้องอาศัยการติดตามเทคโนโลยีของผู้ผลิต (OEM: Original Equipment Manufacturer) ซึ่งมีการ Trigger ผู้ใช้ (Technology User) ตามเวลาที่เหมาะสมอย่าง Dynamic ในบางครั้งไม่ใช่เลือกกันได้ง่ายๆ ตามพื้นฐานเดิมๆ ที่ใช้งานกันในประเทศ แต่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด หรือเปลี่ยนรูปแบบการให้ความร้อน (Heat) ยกตัวอย่างเช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนกับ Working Fluid ในกระบวนการผลิต เปลี่ยนเป็น การให้ความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์โดยปฏิกริยา Fission กันไปเลย ดังนั้น ต้องมีการอัพเดทประสิทธิภาพของแต่ละเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ
แนวโน้มปัจจุบัน พบว่า ศาสตร์ที่มี Impact สูงต่อการเปลี่ยนเทคโนโลยีของการผลิตไฟฟ้ามาก คือ เคมี และ โลหการ เนื่องจาก โดยคอนเซ็ปต์คิดไปจนทะลุแล้ว จึงอยู่ในช่วงการทำให้ใช้งานจริงได้ (Mature Technology) ซึ่งเป็นยุคที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และมีความพยายามอย่างสูงสุดในการลดข้อจำกัดด้านวัสดุให้ทนต่อสภาพความดันและอุณหภูมิสูงได้ แสดงขั้นของการพัฒนาดังรูปที่ 1
ภาพด้านล่างนี้แสดงในลักษณะของ Bubble Chart ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการเพิ่มกำลังการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง กำหนดให้ขนาดของ Bubble Chart แสดงถึงปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในระดับปกติ (Baseline) และเมื่อมีการทำโครงการต่างๆ ขนาดของ Bubble เส้นประแสดงถึงปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่ลดลงจากระดับปกติ (Project) ซึ่งปัจจุบันปี ค.ศ. 2015 อยุู่ในช่วงที่ประสิทธิภาพการผลิตจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่ 38% และ 47% ตามลำดับ
เป็นเช่นเดียวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ CO2e (ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ซึ่งเมื่อการใช้เชื้อเพลิงลดลง การปล่อย CO2e ย่อมลดลงเช่นเดียวกัน ตามรูปที่ 3 ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณก๊าซเรือนกระจกที่ประกาศใช้โดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
โดยสรุปคอนเซ็ปต์การประเมินประสิทธิภาพพลังงานของ โครงการ หรือ กิจกรรมใดใด ในโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของแนวคิดให้ถูกต้อง โดยมีจุดเริ่มต้นจาก ประเมินปริมาณการใช้พลังงานภาพรวมของแต่ละระดับก่อน (Baseline) ถัดมาเมื่อมีการดำเนินโครงการแล้วจึงได้ปริมาณการใช้พลังงานซึ่งอาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นจาก Baseline ก็เป็นได้ นั่นแสดงถึง Output ของโครงการ/กิจกรรมว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และเมื่อได้ผลการลดการใช้พลังงานแล้ว จึงค่อยต่อยอดการลดก๊าซ CO2e ต่อไป
อย่างไรก็ตาม Blog นี้ยังไม่ได้รวมถึงการประเมิน Outcome ที่จะไปกระทบกับแผนพลังงานของชาติ แผนจัดการพลังงานและแผน PDP อีกนะคะ