Smart New York City

ณ การเดินทางเยือนมหานครนิวยอร์ค New York City กับงานพัฒนาเมือง ปลายปี 2019 จึงได้โอกาศอัพเดทความเป็นสมาร์ทซิตี้ของรัฐ New York ในด้านต่างๆ ดังนี้

คลิป ณ One World Observatory สถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนเข้าถึง Story ของ New York City โดยเทคโนโลยีการเล่าเรื่องผ่านแอพพลิเคชั่น, NYC 2019

ปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) The NYC Mayor’s Office of Technology and Innovation (MOTI) มีความพยายามที่จะเปลี่ยน NYC เป็น Smart City ซึ่งมีบางเรื่องที่เริ่มต้นแล้ว เช่น Air Quality และต่อเข้าด้วยหมวด Smart Environment บางเรื่องที่มีการเสนอใช้งบของรัฐ แต่ยังไม่มีการอนุมัติงบประมาณ ก็มี โดยแบ่งเป็น 5 เรื่อง ดังนี้

1. ระบบส่งจ่ายก๊าซธรรมชาติ – About Natural Gas Grid Supply

📝• ต้นปี 2019 (พ.ศ. 2562) บริษัท New York State Electric and Gas Corp. (NYSEG) เสนอโปรแกรมเปลี่ยน Smart Meter (ใช้ได้กับระบบไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ – Electricity & Natural Gas) ต่อรัฐนิวยอร์คกว่า 1.8 ล้านมิเตอร์ เป็นเงินกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ กรณีลูกค้าไม่ต้องการเปลี่ยน อาจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเจ้าหน้าที่ไปจดมิเตอร์ 👨‍✈️ ประมาณ 10-25 เหรียญสหรัฐ ต่อเดือน อย่างไรก็ตาม โครงการอยู่ระหว่างการขออนุมัติงบประมาณ (อ้างอิง)

📝 • มี Incentives การเปลี่ยนจากการใช้ Heating Oil มาเป็น Natural Gas เริ่มมาตั้งแต่ปี 2012 โดย Michael Bloomberg ประกาศโครงการ NYC Clean Heat ซึ่งเป็นนวัตกรรม PPP (Public Private Partnership) โดยรัฐและเอกชนร่วมกันลงทุนโครงสร้างเชื่อมต่อจากท่อก๊าซฯ สู่อาคาร ระหว่างรัฐ ธนาคาร และผู้ให้บริการพลังงาน Supply Natural Gas ทำให้การบริการง่ายขึ้น ราคาไม่สูง และผู้ Supply Oil ทำหน้าที่รณรงค์ใ่ห้คนเปลี่ยนจาก Heating Oil no.4,6 มาเป็น no.2 Low Sulpher หรือเปลี่ยนเป็น Natural Gas แทน

📝• ปัจจุบันปี 2019 สภาพพื้นที่การซ่อมท่อก๊าซธรรมชาติใกล้อาคารพาณิชย์ และอาคารที่อยู่อาศัยตรงบริเวณถนนบริเวณ Penn Station โดยบริษัท ConEdison ดังรูปที่ 1 เปรียบเทียบกับประเทศไทย คือ การใช้ก๊าซธรรมชาติจากท่อฯ ต้มน้ำชงกาแฟยามเช้า เวลาซ่อมบำรุงก็เหมือนซ่อมท่อน้ำประปาใต้ดิน #RetailNaturalGas

📝 • บริเวณ Lower Manhattan มีรถ National Standby Service จอดอยู่ใกล้กับอาคารตำแหน่งวาล์ว Fuel Oil ดังรูปที่ 2 ปกติบริษัทนี้ให้บริการติดตั้ง Generator ให้กับสถานประกอบการที่ต้องการความเชื่อถือได้สูง เช่น โรงพยาบาล 🏨 อย่างไรก็ตาม กรณี อย่างเมืองนิวยอร์ค โรงแรม🏪 ที่มี Generator Service จะเด่นมาก เพราะเกาะแมนฮัตตัน เจอพายุถล่มและ Blackout บ่อยมา เช่น เฮอริเคน Sandy ในปี 2012, 2017, กลางปี 2019 เป็นต้น

2. ระบบไฟฟ้า เริ่มที่การประหยัดก่อน – Electricity Savings

Smart Energy: การลดการใช้พลังงานผ่านการอัพเกรดไฟส่องสว่าง เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ได้เริ่มโปรแกรม Accelerated Conservation and Efficiency (ACE) ของระบบไฟฟ้าส่องสว่าง (lighting Systems) ในอาคารขนาดใหญ่ ใช้เงินสนับสนุนจากรัฐถึง 350 ล้านเหรียญสหรัฐ ครอบคลุม 650 อาคาร 16 นิติบุคคล โดยส่วนใหญ่ เป็นโปรแกรมปรับปรุงเป็นไฟ LED จากหลอดไฟ Fluorescent และติดต้ังระบบ Smart Control แทนระบบควบคุมแบบเดิม Manual ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ สามารถได้เงินคืน (Cash Rebates) จาก ConEdison เพิ่มอีกด้วย ผลภาพรวมลดการใช้พลังงานลงได้ 800,000 เหรียญสหรัฐต่อปี และลดก๊าซเรือนกระจกได้ 900 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tonCO2e)

ประเด็นนี้ แม้ว่า ทำมาแล้วตั้ง 5 ปี แต่ NYC เป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองเศรษฐกิจ ที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก จึงมี Gap ให้กลุ่ม Start up ทั้งในและนอกนิวยอร์กเข้าพื้นที่นี้เพื่อเสนอโมเดลธุรกิจได้อีกหลายโครงการทีเดียว ดูจาก 2 ใน 7 กลุ่มที่ Pitching เรื่องพลังงานที่ NYU (รูปที่ 3) นำเสนอหัวข้อ Energy Savings #SmartCity #NYC

3. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ เริ่มจากการสำรวจด้านสุขภาพ – Smart Environment

Air Quality Monitoring: หน่วยงาน The NYC Department of Health and Mental Hygiene มีการสำรวจในปี 2008 (พ.ศ. 2551) พบว่า เมืองต้องการ Air Monitoring เป็นลำดับแรกเพื่อให้รู้อาการปัจจุบันก่อน จึงติดตั้งจุดวัด Air Monitoring แบบชั่วคราว 75 สถานี และแบบถาวร 8 สถานี แล้วเสร็จ สามารถส่งข้อมูลทุก 15 นาที ผลจากโครงการนี้ ทำให้เห็นผลการลดลงของการปล่อย Sulfur Dioxides ถึง 70% มาตั้งแต่ปี 2008 ประสบการณ์ของเมืองนี้สอนให้รู้ว่า จะควบคุม (Control) ได้ ต้องเฝ้าดู (Monitor) ได้ก่อน แสดงดังรูปที่ 4

• Smart Trash: Big Belly, บริษัทสัญชาติอเมริกา ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มและระบบกำจัดขยะโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีใช้แล้วใน 54 ประเทศ และอยู่ในฐานะ Winner of the World Smart City Award 2012 ที่งาน Smart City Expo World Congress, ตั้งแต่ปี 2013 ช่วงนายกเทศมนตรี Michael Bloomberg ประกาศ Initiatives Smart Trash โดยการติดตั้งถังขยะอัจฉริยะ จำนวน 30 จุดที่ Timesquares โดยประกอบด้วย Wireless Sensor ใช้พลังงานจาก Solar Cell และส่งข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม ทำให้สามารถติดตามปริมาณขยะแต่ละถัง (รูปที่ 5) มีจัดการตารางเวลาเก็บขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ 50-80% เช่น พบว่า สามารถสามารถจัดการตารางการเก็บขยะของถังที่มีขยะปริมาณมากกว่าวิธี Manual แบบเดิมถึง 5 เท่า ซึ่งเป็นการลดมลภาวะจากรถขนขยะไปด้วย

หลังจากนั้น 2 ปีต่อมา เพิ่มจุด BigBelly เป็น 197 จุดต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นิวยอร์คเป็นเมืองที่มีการก่อสร้างตลอดเวลา ดังนั้น พื้นที่ใกล้บริเวณก่อสร้างยังพบสภาพการรวบรวมขยะในบางจุดของเมืองที่ยังไม่สะอาดในระหว่างวัน ดังในรูปที่ 6 แสดงตำแหน่งใกล้ Penn Station

ฺBigbelly Platform
รูปที่ 5 Display of Bigbelly Platform (อ้างอิงข้อมูลจาก info.bigbelly.com)

4. Connectivity ให้บริการนักท่องเที่ยวทั่วเมือง – Smart Tourism

Connectivity: ให้บริการ Free Wifi ที่สถานีรถไฟใต้ดิน (Subway) ตลอดการเดินทางใน NYC เมื่อทดลองเชื่อมต่อใช้งาน พบว่า มีสัญญาณ ณ จุดรถหยุดสถานี แต่ระหว่างสถานี ก็ยังขาดการเชื่อมต่ออยู่ โดยมี Sponsor มาจากเมือง Chicago แสดงในรูปที่ 7

• อัพเดท Smart Tourism สถานที่แห่งใหม่ล่าสุด คือ One World Observatory ที่ทำให้นักท่องเที่ยวสัมผัสประสบการณ์ การเล่าเรื่องผ่านการเติบโตของเมืองจากอดีตไปปัจจุบัน และสุดท้ายได้ Explore ตึกสำคัญๆ ใน Manhattan ด้วยตัวเองด้วยการให้ iPad คนละเครื่อง ส่องตึกผ่าน Application อธิบายแต่ละตึกที่เรา Map ภาพได้ ตามคลิป NYC One World Observatory ด้านบน

5. โครงสร้างพื้นฐานเรื่องน้ำ – Smart Living

เรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่มีเป้าหมายเพื่อผู้อยู่อาศัยในเมือง (Residents) จัดอยู่ในด้าน Smart Living

ประชากร New York City 8.5 ล้านคน ใช้น้ำ 1 พันล้านแกลลอนต่อวัน The NYC Department of Environmental Protection (DEP) จึงติดตั้งระบบ Automated Meter Reading (AMR) เพื่อเก็บข้อมูลน้ำรูปแบบ Snapshot เพื่อประชาชนสามารถตรวจสอบน้ำที่ตัวเองใช้รายวันได้ AMR ถูกติดตั้งมากกว่า 800,000 เครื่อง โดยมีตัวรับส่งสัญญาณวิทยุพลังงานต่ำ ด้วยระบบนี้ DEP สามารถจัดทำบิลการใช้น้ำมีความแม่นยำสูงขึ้น โดยแต่เดิมที่ผู้ใช้น้ำ 17% จากทั้งหมดได้รับบิลแบบประมาณการ (Estimation) จากข้อจำกัดของอุปกรณ์ตรวจวัด เมื่อทำโครงการนี้ทำให้ผู้ใช้น้ำเหล่านี้ลดลงเหลือเพียง 3% เท่านั้น (อ้างอิง)

เมืองที่หนาแน่นสูงสุดในโลกทำเรื่องสิ่งแวดล้อมก่อน และยังถือได้ว่า New York เป็นเมืองที่อยู่อย่าง Smart Living ด้วยความสะดวกสบายในการเดินทางทำกิจกรรมต่างๆ ภายในเมือง แต่อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่เมืองนี้เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้ง เมืองจึงต้องให้ความสำคัญกับ Safety อันดับแรก การออกแบบเมืองเพื่อเสนอนายกเทศมนตรีล่าสุด มีการออกแบบสวนสาธารณะระดับสูงถึง 3 ชั้น บนสุดเป็นสวนสาธารณะ ถัดมาเป็นถนนปกติ และชั้นล่างเป็นที่จอดรถ ทั้งหมดเพื่อเป็น Bunker กันเฮอริเคนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

Disclosure: บทความนี้ ได้รับการสนับสนุนการเดินทาง แต่บทความนี้เขียนจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน ไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากตัวแทนที่เกี่ยวข้อง