GOODYEAR นวัตกรรมรักษาแรงดันลมยางรถ Energy Efficiency

GOODYEAR สุดยอดเทคโนโลยีรักษาแรงดันลมยาง AMT

เทคโนโลยีรักษาแรงดันลมยาง (AMT: AIR MAINTENANCE TECHNOLOGY) นั้นมีที่มาจากโดยบริษัท กู๊ดเยียร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ จำกัด (GOODYEAR TIRE & RUBBER COMPANY) ซึ่งได้รางวัล 2012 BREAKTHROUGH AWARD จากนิตยสาร POPULAR MECHANICS ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 สำหรับผู้คิดค้นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีนัยสำคัญต่อวงการเทคโนโลยี การแพทย์ การสำรวจอวกาศ การออกแบบรถยนต์ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และสาขาอื่นๆ
เทคโนโลยีการรักษาแรงดันลมยางจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ ช่วยทำให้มีอัตราความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมปริมาณไอเสียที่น้อยลง และมีอายุการใช้งานของยางที่ยาวนานขึ้น ซึ่งช่วยส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีนี้ช่วยรับประกันว่ายางรถยนต์จะมีแรงดันลมที่เหมาะสมที่สุดอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้รถยนต์ประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ดี โดยจากการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐและวงการอุตสาหกรรมพบว่า ยางรถยนต์ที่มีแรงดันลมน้อยกว่าปกติ จะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นร้อยละ 2.5 ถึง 3.3 แม้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะมีความซับซ้อน แต่แนวคิดเบื้องหลังกลับค่อนข้างเป็นแนวคิดที่ง่ายๆ และอาศัยกำลังจากยางรถยนต์เอง ในขณะที่ล้อรถหมุนและผิวยางสัมผัสกับพื้นถนน

การมอบรางวัล BREAKTHROUGH AWARD ของ POPULAR MECHANICS แบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือนักสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ของผู้ได้รับรางวัลประเภทนี้จะทำให้โลกมีความชาญฉลาด ปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต ประเภทที่สองคือผลิตภัณฑ์ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ของผู้ได้รับรางวัลประเภทนี้จะมีคุณลักษณะช่วยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในงานออกแบบและวิศวกรรมในยุคปัจจุบัน
ติดตามเรื่องราวของ 2012 BREAKTHROUGH AWARDS ได้ที่ @POPMECH, #BTA2012
กู๊ดเยียร์เป็นบริษัทผลิตยางรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีพนักงานประมาณ 72,000 คน และมีโรงงานผลิต 53 แห่งใน 22 ประเทศทั่วโลก ศูนย์วิจัยและออกแบบสองแห่งของทางบริษัทฯ ซึ่งอยู่ที่เมืองแอครอน มลรัฐโอไฮโอ และที่เมืองโคลมาร์-แบร์ก ในลักเซ็มเบิร์ก มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้เทคโนโลยีและวัสดุที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งเป็นตัวกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีและประสิทธิภาพในวงการอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกู๊ดเยียร์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ของทางบริษัทฯ ที่ www.goodyear.com/corporate

ที่มาข้อมูล: CARMAGAZINE.IN.TH, November 2012

นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยี?

เป็นได้ทั้ง 2 อย่างขึ้นอยู่กับมองมุมไหน???

นวัตกรรม

อะไรก็ตามที่เปลี่ยนแปลงจากแนวคิดเดิม รูปแบบเดิม แล้วเกิดประโยชน์เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ณ เวลานั้น เรียกว่า นวัตกรรม
ขอขยายความ “ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ณ เวลานั้น” อย่างเช่น ยุคปัจจุบันเป็นช่วงที่ทรัพยากรขาดแคลน กิจกรรมแม้เล็กน้อย เช่น ปรับมุมใบ Cooling Tower ให้อยู่ในระดับที่กินไฟฟ้าน้อยลง เป็นต้น เราทำเพื่อให้เกิด Energy Efficiency ที่ดีขึ้น ลดการใช้พลังงาน ถือว่าเกิดประโยชน์ทั้งนั้นตามยุคนี้ แต่ถ้าเป็นยุคเก่าที่ทรัพยากรล้นเหลือ เราต้องการรายได้ผลิตสินค้าเท่านั้น เราคงจะสนใจเรื่องพวกนี้น้อยมากทีเดียว
ถ้าความคิด หรือ สิ่งที่ทำขึ้นมา เกิดขึ้ันในช่วงเวลาที่ไม่เกิดประโยชน์ นั้นก็ไม่เรียกว่า นวัตกรรม แต่ถ้าเราเอาความคิดนั้ันๆ หรือสิ่งที่ทำนั้นๆ มาปัดฝุ่นใหม่ ทดลองทำใหม่แล้วเกิดประโยชน์ นั่นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรมได้

คุณวราภรณ์ คุณาวนกิจ นักเทคโนโลยีดีเด่นจาก สวทช. ได้เคยให้ความกระจ่างไว้ว่า แค่เราเปลี่ยนจากที่เคยออกแบบเพื่อตั้ง Microhydro Turbine ในแนว Vertical เปลี่ยนมาวางแนว Horizontal และทำให้เกิดประโยชน์ในแง่การรองรับโครงสร้างที่เสถียรมากขึ้น ก็เรียกได้ว่าเป็น นวัตกรรม แล้วค่ะ

คุณอำนวย เดชชัยศรี ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้
“นวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนามาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ”

เทคโนโลยี

เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง เทคโนโลยี AMT ของ GOODYEAR นี้เห็นชัดเลยค่ะ ว่าเกิดจากแนวความคิดอย่างง่ายดายเลย แต่ขั้นตอนของการพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์มารองรับนี้ ผู้ผลิตเองก็ยังว่า ค่อนข้างซับซ้อนทีเดียว

Energy Efficiency

มุมมองของผู้ผลิต Accessories ทุกอย่างเกี่ยวกับรถยนต์เช่น Goodyear ในครั้งนี้ มุมมองของผู้ผลิตรถยนต์ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับหลายอย่าง เช่น Hybrid, Eco-boost, พวงมาลัยไฟฟ้า, ระบบกระจังหน้าปิดอัตโนมัติป้องกันอากาศเข้าห้องเครื่องยนต์มากเกินไป, twin-clutch gear เป็นต้น หรือผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเองก็พยายามลดสัดส่วนของ น้ำมันฟอสซิล เพิ่มสัดส่วนจากน้ำมันจากพืช เป็น Biofuel เช่นในปัจจุบัน กลายเป็นจุดขายหลักที่นำมาใช้ในการทำ Marketing ไปแล้ว ซึ่งเป็น Win-Win Solutions ของทั้งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนอง Energy Efficiency อย่างแท้จริงในยุคทรัพยากรขาดแคลน และฝั่งผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ก็ได้ประหยัดเงินในกระเป๋าในการใช้เชื้อเพลิงได้ด้วย

คลิ๊ก Like ได้ที่หน้า Goodyear FB page ที่นี่