ไฟฟ้าระบบ Grid ยุโรป อย่างงี้ก็มีด้วย!

กระแสไฟฟ้า การทำให้ปริมาณพลังงานผลิต แมชกับ ปริมาณพลังงานใช้ นี่แสนยาก!!!

การรักษา Supply ของกระแสไฟฟ้าให้ตอบสนองกับ Demand หรือที่เรียกกันในภาษาเทคนิคว่า Match Demand and Supply of Electricity นี่เป็นความยากของ System Operator เสียจริง

โดยปกติแล้ว โรงไฟฟ้าที่ใช้การขับเคลื่อนโดยกังหันไอน้ำ และกังหันก๊าซฯ หรือที่เรียกว่าแบบ Combined Cycle Power Plant นั้น จะมีหน้าที่หลักเพื่อการรักษา Supply ให้ Match กับ Demand ใน National Grid โดยการ เพิ่ม Load ลด Load (ภาษาเทคนิค Ramp) เพื่อให้ผ่านช่วง Intermediate Load และ Peak Load ไปอย่างราบรื่น โดยทางสถิติทั้ง 2 ช่วง Load นี้จะสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำหน่อยก็ 1 วันล่วงหน้า และต้องในกรณีที่อากาศไม่เปลี่ยนแปลงมากด้วย
ดังนั้น องค์ความรู้ในการคาดการณ์นี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ทำหน้าที่ควบคุม (System Operator) ระบบกริดแห่งชาติ (National Grid) อย่างยิ่ง

Royal Wedding กลายเป็นวันพิเศษมาก! ของ System Operator

มีตัวอย่างที่น่าสนใจในเรื่องของ Supply และ Demand ที่ Jacob Klimstra และ Markus Hotakainan จากหนังสือเรื่อง Smart Power Generation [Book] ได้ฉลาดมากในการเห็นมุมมองของกระแสไฟฟ้า โดยจับช่วงเวลานั้นเอามาเทียบเคียงได้อย่างดี นั่นคือ การติดตามดู Load ช่วงพระราชพิธีอภิเษกสมรส (Royal Wedding) ระดับชาติของประเทศ Netherlands ที่ส่งผลอย่างชัดเจนต่อกระแสไฟฟ้า

Royal Wedding at Netherland

พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายแห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าสาวจากอาร์เจนติน่า ที่จัดขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันเสาร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2002 ประชาชนราว 6.2 ล้านคนของประเทศได้เฝ้าติดตามการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์โดยไม่ทำอะไรกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นใดในบ้านเลย ทำให้ช่วงเวลา 20 นาทีก่อนเริ่มพิธีสวนสนาม Power demand ตกฮวบ 650 MW แทนที่จะค่อยๆ สูงขึ้นเหมือนเช่นทุกเสาร์ปกติ

พลังงานไฟฟ้ากระเทือนถึงเพื่อนบ้าน-เยอรมัน-เบลเยี่ยม

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวกระเทือนมาถึงระบบกริด (Grid) ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเยอรมันนีและเบลเยี่ยม รู้ได้เลยว่า เนเธอร์แลนด์ไม่สามารถหยุดความไม่สมดุล (Imbalance) ของกระแสไฟฟ้าได้ เนื่องจากหลุดออกมานอกประเทศสูงถึง 185 MW นี่ก็เป็นการพิสูจน์ฝีมือของผู้ควบคุมระบบกริด (Grid) อีกวันหนึ่งทีเดียว

ระบบกริดของยุโรป (www.geni.org)
…Electricity imports, which also could rise in coming years, come primarily from France, the Czech Republic, Norway, and Austria. Germany also exports small amounts of electricity to the Netherlands, Switzerland, and Austria, and in 2000 imports and exports almost completely offset each other.

และ Demand ก็ตกเป็นช่วงๆ สอดคล้องกับเหตุการณ์ในพิธีตามกราฟด้านล่างนี้ จนกระทั่งก่อน 2 ทุ่ม Demand จึงกลับมาเป็นปกติเช่นเดิม เฮ้อ! ลุ้น ลุ้น

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอน Royal Wedding กับปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า
<

ประเด็นสำคัญสำหรับประเทศไทย

เหมือนคนในวงการพลังงาน วงการผลิตไฟฟ้า ค่อนข้างจะรู้อยู่แล้วละ ว่าการคาดการณ์ก็ทำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ที่จะหวังว่าแม่นเป๊ะนี่คงเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ข้อมูล Input ที่ไม่ชัวร์เหล่านี้ ย่อมทำให้ แผนพลังงานเมืองไทย เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างไม่ต้องสงสัย อันนี้คือเชิงเทคนิค แต่ Gap ที่เห็นนี่ ก็ทำให้สามารถนำไปเป็นเหตุผลต่อผู้มีส่วนได้เสียในเรื่อง “พลังงาน” มีรูมใหญ่พอให้เล่นได้หลายมุขทีเดียว!!!

อีกเรื่องสำคัญสำหรับประเทศไทย พอเห็นปัญหาเชิงเทคนิคในระบบกริด (Grid) ก็น่าห่วง ในกรณีการทำ ASEAN Power Grid (APG) สำเร็จ System Operators คงต้องศึกษากันอย่างรอบคอบ ถึงเหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลให้ระบบ Grid ของประเทศกระเทือนได้ ไม่ง่ายเลย!

=== ใจนึงก็อยากดูการกินกระแสไฟฟ้าของ Royal Wedding แห่งศตวรรษของสหราชอาณาจักรจริงๆ เพราะวันนั้นก็นั่งจ้องโทรทัศน์กับเค้าอยู่เหมือนกัน
แต่ที่สำคัญ Royal Wedding แบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ในประเทศอินเดียช่วงนี้เลยเป็นแน่แท้ เพราะคนที่ลำบากจาก Power Grid Failure (Black Out) เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว จำนวนคนตั้งร้อยเท่าของประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งประเทศเลยอ่ะ===