ASEAN Energy Outlook ตอนที่ 2/2

จากการเพิ่มของเชื้อเพลิง Coal และ Natural Gas ในการผลิตกระแสไฟฟ้าควรที่จะเพิ่มไปพร้อมๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น Thermal Efficiency คาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นจาก 38% ในปี 2005 ไปสู่ 44% ในปี 2030 ทั้งกรณี Base และ High Case

CO2 emission
CO2 emission

Implications
Primary energy consumption เพิ่มสูงขึ้นจาก 2.6 เท่าใน Base Case เป็น 3.3 เท่าใน High Case ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความกดดันในเรื่องของความปลอดภัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างคู่ขนานกัน , จาก Oil Consumption ที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสามเท่าในปี 2030 เทียบกับ 2005 นั้นจะทำให้ ASEAN มีความเสี่ยงต่อการนำเข้า Oil ใน Oil Market

และถึงแม้ว่า ASEAN จะส่งออก Natural Gas ด้วย แต่ Gas Consumption ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้น ถ้าในภูมิภาคไม่เพิ่มเพดานการผลิตสูงขึ้น ก็ทำให้ต้องนำเข้าจากภูมิภาคอื่นอย่างแน่นอน

Coal Consumption ที่เพิ่มสูงถึงเกือบ 10 เท่า จะทำให้ ASEAN ต้องรับมือกับ CO2 emission ที่เพิ่มสูงขึ้น ในแง่ของนโยบาย คือ ต้องเพิ่มโครงการ CDM (Clean Development Mechanism), เพิ่มความหลากหลายในการใช้เชื้อเพลิงและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงคุณภาพต่ำ เช่น Coal เกรดต่ำ, เพิ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาเรื่อง CCT รวมทั้ง Renewable Energy เป็นต้น
สร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนหันมาสนใจในโครงการพลังงานในแง่ของ Climate Change เช่น Geothermal, Hydropower, Nuclear เป็นต้น และที่ขาดไม่ได้คือเพิ่มความร่วมมือที่แข็งแกร่งในภูมิภาคในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี และการนำไปใช้งาน

Energy Cooperation in ASEAN
นอกจากความร่วมมือในโครงการ ASEAN Power Grid ทั้ง 14 Interconnections ดังใน blog: ASEAN Power Grid ยังมีความร่วมมือโครงการ Trans-ASEAN Gas Pipeline ดังรูปด้านล่าง ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology-CCT) ภายใต้ชื่อ JCOAL (ACE=ASEAN Centre for Energy-Japan Coal Energy Center Cooperation), ยังมีความร่วมมือในเรื่องของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานภายใต้ชื่อ PROMEEC (Promotion of Energy Efficiency and Conservation, โครงการ ASEAN Energy Award ที่จัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา, โครงการความร่วมมือเรื่อง Mini-hydro Power กับ The German Technical Cooperation (GTZ) เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้น

Trans-ASEAN Gas pipeline
Trans-ASEAN Gas pipeline

(source: ARSEPE2009 by Nguyen Manh Hung, Executive Director ASEAN Centre for Energy)