(www.bcc.com DEC 12, 2015)…French Foreign Minister Laurent Fabius, who is chairing the summit.
Mr Fabius told reporters in Paris that he would present a new version of the draft text on Saturday morning at 0800 GMT, which he was “sure” would be approved and “a big step forward for humanity as a whole”.“We are almost at the end of the road and I am optimistic,” he added
ที่มา
การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of Parties: COP) ช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2558 นี้จะมีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของข้อสรุปที่ได้รับการยินยอมจากทั้ง 195 ประเทศ (ไม่รวมเกาหลีเหนือ ซีเรีย และอีก 8 ประเทศ)
ย้อนดูเป้าหมายของการประชุมนี้ที่มีมายาวนานเกือบ 20 ปี เริ่มจากประเทศพัฒนาแล้ว และด้วยเหตุผลที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องช่วยกันเพราะมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงจนอาจทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิโลกภายใต้ 2 องศาเซลเซียส ในปี ค.ศ.2100 ได้นั้น
ประเทศกำลังพัฒนาได้รับการรายงานค่าทางสถิติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แซงประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นอันดับ 1 คือ ประเทศจีน ในช่วง 2-3 เดือนก่อนการประชุมมีข่าวความร่วมมือของประเทศจีน สหรัฐ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นความร่วมมือในเรื่องนี้โดยเฉพาะ
การขยับตัวของประเทศไทย
ก่อนหน้าการประชุมที่กรุงปารีสครั้งนี้ มีความถี่และการอัพเดทอย่างสูงในการออกสื่อเรื่องการรายงานเป้าหมาย ปีเป้าหมาย การลดก๊าซเรือนกระจก ของแต่ละประเทศ ไปยัง UN เพื่อให้ผู้นำแต่ละประเทศต้องตื่นตัวในการแสดงความรับผิดชอบ และประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน มติ ครม.สรุปเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผน INDCs (Intended Nationally Determined Contributions) 20-25% ในปี 2030 ประกอบกับผู้แทนกระทรวงต่างประเทศที่มีการคอมเม้นต์เข้มทุกครั้งในการประชุมเตรียมงานในเรื่องการตั้งค่าเป้าหมายฯ อาจเป็นเพราะช่วงนี้ประเทศไทยมีประเด็นอยู่หลายเรื่องให้จัดการ เช่น การค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา, ICAO กับกรมการบินพลเรือน เป็นต้น
การประชุม COP21
ปี 2015 การประชุมที่กรุงปารีสครั้งนี้จึงมีความเข้มข้นตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี และมีเป้าหมายการประชุมที่สำคัญ คือ
- Differentiation ความแตกต่างของระดับการพัฒนา และฐานะการเงินของแต่ละประเทศ เป็นความยากที่สุดของการประชุมเจรจาเพื่อให้ได้มติที่ประชุมฉบับทางการออกมา โดยสิ่งที่ท้าทายคนทั้งโลกคือเศรษฐกิจโลกจากทิศทางการประชุมด้วย
Overall Target เป้าหมายประธานของประเทศฝรั่งเศสในการตั้งค่าเป้าหมายสูงสุดที่ 2 oC (Ambitious Target) แต่เห็นด้วยที่ทุกประเทศจะตั้งเป้าหมายในความพยายามสูงสุดที่จะรักษาอุณหภูมิโลกที่ 1.5 oC จึงเป็นหน้าที่ผู้แทนประเทศต้องลดถ้อยคำในแถลงการณ์ฉบับทางการในการบังคับต่อประเทศตัวเอง ซึ่งอุณหภูมิโลกสูขึ้นราว 1 oC จากยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม
Climate Finance การสนับสนุนทางการเงินจากประเทศพัฒนาแล้ว สู่ประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบ ดังเช่น ประเทศจีน และอินเดีย ที่แถลงไม่เห็นด้วยกับทั้งหมดของข้อสรุปช่วงโค้งสุดท้ายของการประชุมนี้
Transparency ความโปร่งใสในขั้นตอนของ MRV ที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีระบบเดียวที่ทำทุกกระบวนการได้อย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ เป็นสิ่งซึ่งประเทศจีนและอินเดียยังไม่มีการตกลงในระบบเดียวกันนี้
ติดตามการถ่ายทอดสดที่ http://unfccc6.meta-fusion.com/cop21/channels/plenary-1