น้ำมันรั่วลงทะเลที่ร้ายแรงที่สุดของโลก-oil spill disaster-Case Study

เหตุการณ์ที่รุนแรงใน record ระดับโลกเรื่องน้ำมันรั่วลงทะเล คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อ่าวเม็กซิโก เมื่อปี 2553 โดยรั่วที่ปากบ่อน้ำมัน (Well Head) ปริมาณน้ำมันที่รั่วถึง 4.9 million barrels (210 million US gal; 780,000 m3; 682,500 Ton มากกว่า Case ระยอง 13,650 เท่า!) ห่างชายฝั่งราว 66 กม. (41 miles) จากชายฝั่ง Louisiana โดยสิ่งที่ต้องทำในการหยุดคราบน้ำมัน มี 2 ส่วน คือ

1) การหยุดการรั่วที่ต้นเหตุ:

ได้ทดลองหลายวิธีกว่าจะปิดปากบ่อได้สนิท (Well Head completely sealed) หลังเกิดเหตุถึง 5 เดือน (20 เม.ย.- 19 ก.ย. 2553) คลิ๊กที่รูปเพื่อดู Animation

2) การกำจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำและลดการกระจายไปวงกว้าง:

โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายฝั่ง ในเหตุการณ์นี้ US today ได้ทำ interactive ของการกระจายตัวคราบน้ำมันไว้ในช่วงการแก้ปัญหาซึ่งใช้เวลาอยู่เกือบ 3 เดือน (20 เม.ย.- 15 ก.ค.2553)
ส่วนวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยการปฏิบัติการให้สำเร็จได้แสดงในภาพด้านล่าง

อ้างอิงภาพจาก:www.bbc.co.uk

การปฏิบัติการของไทย:

การแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว (Oil Spill)

oil spill clean-up strategy กลยุทธ์ในการขจัดคราบน้ำมัน แผนดำเนินการขจัดคราบน้ำมันเมื่อมีน้ำมันรั่วหกลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุดและโดยเร็วที่สุด อาจพยายามดำาเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกัน เช่น
1. ควบคุมและเก็บคราบน้ำมัน โดยใช้ทุ่นกักน้ำมัน (oil boom) ล้อมคราบน้ำมันไว้ และพยายามใช้เครื่องมือต่างๆ เก็บคราบน้ำมันให้ได้มากที่สุด
2. ใช้สารกระจายเคมีที่ช่วยให้น้ำมันแตกตัว (dispersant) ทำให้น้ำมันแตกตัวออกเป็นหยดเล็กๆ ซึ่งสามารถกระจายไปตามกระแสน้ำได้ง่ายขึ้น และจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในที่สุด
3. เผาคราบน้ำมัน หากมีเงื่อนไขที่เหมาะสม เช่น การรั่วหกในทะเลเปิด ซึ่งเป็นวิธีการขจัดคราบน้ำมันที่มีประสิทธิภาพดี แต่จะก่อให้เกิดควันดำ
4. ใช้วัสดุซับน้ำมัน (absorbent) ซึ่งเหมาะสำาหรับการรั่วหกปริมาณไม่มาก
5. ทำความสะอาดชายฝั่ง เนื่องจากน้ำมันที่รั่วหกจะถูกคลื่นพัดเข้าหาชายฝั่ง ซึ่งหมายรวมถึงการเตรียมสถานที่ที่จะเก็บขยะปนเปื้อนน้ำมันปริมาณมหาศาลด้วย
6. ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายน้ำมัน ซึ่งเป็นวิธีการที่จะใช้เวลามากกว่าวิธีอื่นๆ
7. ปล่อยให้ระเหยและย่อยสลายไปตามธรรมชาติ ในกรณีที่น้ำมันรั่วหกในมหาสมุทรที่ห่างไกล แสงแดด คลื่น ลม จะช่วยให้น้ำมันระเหยและย่อยสลายไปเอง

สำหรับเหตุการณ์ที่ชายฝั่งระยองที่เราเผชิญอยู่ใช้ 2 วิธีแรกในการแก้ปัญหา รวมทั้ง Oil Skimmer ในการเก็บน้ำมันที่ผิวน้ำด้วย

มาตรการตอบสนองภาวะฉุกเฉินเพื่อรับมือกับเหตุน้ำมันรั่ว

oil spill emergency response มาตรการตอบสนองกับภาวะฉุกเฉินเมื่อมีน้ำมันรั่วหกลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขณะขนส่ง หรือขณะสูบถ่ายบริเวณท่าเรือของคลังน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมัน จัดเป็นอุบัติภัยร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน การรั่วหกของน้ำมันทั้งจากการขนส่งและการปฏิบัติงานที่ท่าเรือ ล้วนมีรูปแบบที่แตกต่างกันทั้งขนาดของการรั่วหก สถานที่ และเวลาที่เกิดเหตุ ดังนั้น จึงมีการแบ่งระดับของเหตุน้ำมันรั่วหกตามขนาด หรือปริมาณของน้ำมันที่รั่วหกนั้น รวมทั้งตามตำแหน่งของจุดเกิดเหตุว่าอยู่ห่างจากคลังน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันมากน้อยเพียงใด เพื่อกำหนดรูปแบบของการจัดการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ระดับ 1 (tier 1) เป็นการรั่วหกของน้ำมันในการปฏิบัติงานของคลังน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันเอง ซึ่งต้องมีแผนงานเครื่องมือและบุคลากรพร้อมที่จะจัดการ อีกทั้งถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารคลังน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันนั้นๆ
ระดับ 2 (tier 2) เป็นการรั่วหกของน้ำมันขนาดกลาง ซึ่งอาจเกิดนอกเขตความรับผิดชอบของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ดังนั้น หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องอาจขอความร่วมมือจากบริษัทน้ำมันต่างๆ ที่มีพื้นที่ปฏิบัติการใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ ให้ช่วยสนับสนุนอุปกรณ์และบุคลากรในการขจัด
คราบน้ำมัน
ระดับ 3 (tier 3) เป็นการรั่วหกของน้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุเรือขนส่งน้ำมัน โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ประสานงานและสั่งการ ซึ่งจะต้องระดมเครื่องมือขจัดคราบน้ำมันจากภาคเอกชนทั้งหมด รวมทั้งขอความช่วยเหลือจากศูนย์เครื่องมือขจัดคราบน้ำามันประจำภูมิภาค (EARL) ด้วย ทั้งนี้ บริษัทน้ำมันทุกบริษัทจะต้องเตรียมแผนการ เครื่องมือ และบุคลากรให้สอดคล้องกับระดับของเหตุน้ำามันรั่วหกข้างต้นทุกระดับ และมีการฝึกปฏิบัติตามแผนการ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถรับมือกับเหตุการณ์ได้จริง

ตารางจำแนกระดับความรุนแรงของน้ำมันรั่ว (Oil Spill)

ในประเทศไทยมีกรมขนส่งทางน้ำเป็นผู้วางแผนระดับชาติซึ่งครอบคลุมการรั่วหกของน้ำามันในระดับ 2 – 3 รวมถึงมีการฝึกร่วมกับบริษัทน้ำมันเป็นประจำทุกปีด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก: สารานุกรมเปิดโลกปิโตรเลียมฯ

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดน้ำมันรั่วลงทะเลที่จังหวัดระยอง ห่างชายฝั่งไป 20 กม. เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 27 ก.ค.56 นี้ ตรงต้นกำเนิดการรั่วได้ปิดวาล์วที่ SPM (Single Point Mooring) เป็นที่เรียบร้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างปฏิบัติการกำจัดคราบน้ำมันเพื่อไม่ให้ไปถึงชายฝั่งหาดระยองได้ และแน่นอนอยู่ในการสั่งการของกรมขนส่งทางน้ำ ย่อมเป็นระดับ Tier 2-3 โดยเหลืออยู่อีกประมาณ 25% ของปริมาณทั้งหมดที่รั่ว 50 ตันน้ำมันดิบ ถือว่า ที่ประเทศไทยเจอยังไม่เจอระดับวิกฤตขั้นสูงที่น้ำมันรั่วที่ปากบ่อน้ำมัน น่าจะคลี่คลายสถานการณ์ได้โดยเร็ว