กราฟนี้อ้างอิงจากหน่วยผลิตไฟฟ้าที่ถูกคาดการณ์ไว้ใน PDP2010 (แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 หรือ Thailand Power Development Plan 2010-2030) แสดงให้เห็นสถานการณ์การใช้ ทรัพยากรที่เหลืออยู่ของเรา กับการใช้ ทรัพยากร (ที่เหลืออยู่) ของเพื่อนบ้าน โดยในภาพใช้เส้นเหลืองแบ่งให้ดูง่ายขึ้น
ประเทศที่มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อเราที่ว่านี้ก็คือ ประเทศลาว นั่นเอง
จากรูปด้านบนสิ่งที่น่าสังเกตคือ “แท่งสีม่วงอ่อน” – Power Purchase from Neighboring Countries สัดส่วนนี้ส่วนใหญ่เลยมาจากการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศลาวนั่นเอง ส่วนในพม่าก็มีบ้าง เช่น โครงการมายกก แต่ปริมาณน้อยมาก และอีกส่วนหนึ่งคือซื้อไฟฟ้าตรงผ่านสายส่งจากประเทศมาเลเซียเลย ดังนั้น ความมั่นคงของระบบไฟฟ้าเรา ก็ต้องขึ้นกับความมั่นคงของระบบไฟฟ้า”เขา” พ่วงความสัมพันธ์ทางการฑูตและความมั่นคงหรือสั่นคลอนทางการเมือง “เขา” ด้วย
สัดส่วนข้างล่างนี้อ้างอิงจาก มติ ครม. เมื่อวันที่ 23 มี.ค.53
…ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ ดังนี้
o โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จำนวน 4,617 เมกะวัตต์
o โรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration 7,137 เมกะวัตต์
o โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 16,670 เมกะวัตต์
o โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (ปรับปรุงเขื่อนบางลาง และ โครงการสูบกลับเขื่อนลำตะคอง) 512 เมกะวัตต์
o การรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 11,669 เมกะวัตต์
o โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 5,000 เมกะวัตต์
o โรงไฟฟ้าถ่านหิน 8,400 เมกะวัตต์
คิดเป็นกำลังผลิตจากต่างประเทศ = 21.6% ของกำลังผลิตทั้งหมด
สถานการณ์ทรัพยากรไทยเพื่อผลิตไฟฟ้า
พอมาดูในแง่ทรัพยากรของเรา จากรูปบนโน้น ดูสัดส่วนเปรียบเทียบ
[ปริมาณหน่วยผลิต จาก “ใต้เส้นเหลือง” ลงมา = พลังไฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรไทยเอง]
ทรัพยากรของไทยก็ ก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย ลิกไนต์แม่เมาะ และเขื่อนที่มีอยู่ (เขื่อนสัดส่วนน้อยมาก อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขื่อน click คะ)
และ
[ปริมาณหน่วยผลิต จาก “บนเส้นเหลือง” ขึ้นไป = พลังงานไฟฟ้าผลิตจากทรัพยากรคนอื่น]
ทรัพยากรคนอื่นก็มีทั้งเขื่อนของเพื่อนบ้านเอง และซื้อจากสายส่งมาเลย์เลย อีกทั้ง ก๊าซธรรมชาติแบบเหลวที่เรียกนิคเนมกันว่า LNG (Liquefied Natural Gas) จากต่างชาติที่จัดหาโดย ปตท. แล้วก็ถ่านหินนำเข้าด้วย
ที่ไม่สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจนของ “แท่งสีแดง” ก็เพราะว่าโรงไฟฟ้าที่ผลิตโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงนั้น ปัจจุบันนี้ ได้มีเชื้อเพลิงที่มาจาก (1) ก๊าซฯ ของไทยเอง และที่ซื้อเป็น (2) ก๊าซเหลว ดูได้คร่าวๆ ก็สัดส่วนผลิตโดยใช้ก๊าซฯ ทั้งหมดก็ลดสัดส่วนจาก 70% ลงมาเรื่อยๆ แต่ปริมาณไม่ได้ลดลงมากสักเท่าไร ส่วนสิ่งที่เพิ่มเข้ามาช่วยเสริมระบบก็จากซื้อไฟฟ้าต่างประเทศนี่หล่ะ ซึ่งเห็นชัดเจนว่ายุทธศาสตร์พลังงานของชาติได้เปลี่ยนไปจาก PDP2007 r2 มาสู่ PDP2010 ก็ในเรื่องการเพิ่มทรัพยากรจากต่างประเทศนี้เป็นสาระสำคัญทีเดียว จากตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้
นอกจากนี้จะเห็นว่า ทรัพยากรด้านอื่นของประเทศ ที่รัฐบาลส่งเสริมให้ทำคือ พลังงานหมุนเวียน นั้น ก็สูงขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าที่ผลิตแบบ Base Load ก็ยังต้องคงสัดส่วนและปริมาณที่สูงอยู่ (อ่านประเด็นนี้ได้จาก ความเห็นจากคุณมนูญ ศิริวรรณ click คะ) โดยสิ่งที่อาจมากระทบกับสัดส่วนเหล่านี้ที่เห็นชัดก็ เช่น กรณีไม่สามารถสร้าง รฟ.ถ่านหินได้ก็อาจต้องพึ่งก๊าซฯ มากขึ้น, หรือกรณีสร้าง รฟ.นิวเคลียร์ ไม่ได้ก็ทำนองเดียวกัน, หรือพลังงานหมุนเวียนไม่เป็นไปตามเป้าฯ และไม่ได้เริ่มจุดประกายการผลิตแบบ DG-District Generating อย่างจริงจัง, ไฟฟ้าที่เคยซื้อจากต่างประเทศซื้อไม่ได้เหมือนที่คาดการณ์ไว้ อันนี้อาจพิจารณาผลกระทบจากประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำดังกล่าว เป็นต้น
ซึ่งผลตามมาจากการพึ่งก๊าซฯ มาก ก็ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงกระชูดได้ (ถ้าจะดูแนวโน้มค่าไฟฟ้าก็ดู Sign จากราคาเชื้อเพลิงย้อนหลังไป 4 เดือน ดูเพิ่มเติมได้จาก การ์ตูนแอนนิเมชั่นชุดนี้ค่า)
สรุป
จากรูปบนนู้น!!! อีกครั้ง ดูจากปัจจุบันจนถึง 10 ปีข้างหน้าสัดส่วนการใช้ทรัพยากรของประเทศเราเอง กับการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติดูจะใกล้เคียงกัน แต่หลังจาก 10 ปีเป็นต้นไป (ปี พ.ศ.2564) ทรัพยากรของเราเริ่มนิ่ง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเพิ่มสูงขึ้นนั้นจะแปรผันตรงกับการเพิ่มขึ้นของการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติทั้งหมด คราวนี้ที่น่าวิตกคือ ประเทศเราไม่ได้มีกำลังซื้อระดับบนของโลกซะด้วย ทีนี้คนขายเชื้อเพลิงหรือขายไฟฟ้าให้เรา อยู่ดีดีเจอวิกฤตการณ์ หรือกลไกตลาด อาจไม่ขายให้เราซะเฉยๆ ก็เป็นได้!!!
ที่ว่าประเทศหนึ่งเจริญ ช่วยทำให้ประเทศข้างเคียงเจริญไปด้วยกัน หรือประเทศที่มีทรัพยากรมากช่วยเหลือประเทศที่ใกล้หมด คงไม่ผิดหรอก ถ้าจุดประสงค์การพัฒนาของประเทศเป็นแบบเดียวกัน แต่ถ้าประเทศหนึ่งมีความสุขบนกองวัตถุ อีกประเทศมีความสุขกับธรรมชาติ ก็ต้องหาจุด Optimum ยกตัวอย่างที่่ค่อนข้างชัด เช่น อินเดียที่ต้องการไฟฟ้าเพื่อให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของประเทศ ซื้อไฟฟ้าแบบเหมาจากเกือบทั้งประเทศภูฏานในขณะที่คนภูฏานก็ต้องการความสุขกับการรักษาธรรมชาติเยี่ยงนั้นก้อดูจะลงตัวดี กรณีไทยอาจซื้อไฟฟ้าจากกัมพูชามั่งก้อได้ ถ้าไม่ทะเลาะกันแบบแตกหักซะก่อน [แต่ขอละไว้ในเรื่อง 3G 😛 เพราะประเทศลาวก้าวล้ำแบบไม่เห็นฝุ่นซะแร้ว]