จาก Green Research-วารสารของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม-เดือน มกราคม ที่ผ่านมา ได้มีศัพท์ใหม่ “HIA – Health Impact Assessment” ให้วงการพลังงานมีความท้าทายเพิ่มขึ้นอีกแล้ว
…ประเด็นสำคัญคือ ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมีความเห็นว่า EIA มีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพและสังคมในขอบเขตที่จำกัด ไม่พอเพียงที่จะให้เกิดความแน่ใจว่าจะคุ้มครองสุขภาพชุมชนได้จริงจากกิจกรรมโครงการที่รายงาน EIA ได้เสนอให้ทำเพิ่มในแต่ละโครงการนั้นๆ…
…ในทางปฏิบัติ HIA จะนำเอารายงานEIA ที่ได้จัดทำแล้ว มากรองอีกขั้นหนึ่ง…
…HIA มองลึกกว่า EIA นอกจากนี้ HIA ยังผนวกเอามิติของการประเมินผลกระทบสะสมด้วย (Cumulative Impact Assessment) ในขณะที่ EIA ไม่ต้องคิดมาก เอาแค่ตามกฎหมายระบุ…โดยมิได้คำนึงถึงว่าน้ำหรือบรรยากาศในบริเวณนั้นอิ่มตัวและรองรับหรือเจือจางได้อีกหรือเจือจางได้อีกหรือไม่ มิำได้คำนึงถึงว่าบุคคลหรือชุมชนที่มีภูมิแพ้สารมลพิษจะกระทบหรือไม่…
…HIA มีลักษณะเชิงรุกมากกว่า EIA ซึ่ง EIA เน้นให้บริษัทที่ปรึกษาดำเนินการเป็นหลัก ดังนั้นหลายโครงการที่ชุมชนทั้งภายในและต่างประเทศโต้แย้งเนิ่นนาน เช่น อภิมหาโครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 ในประเทศลาว เมื่อได้ดำเนินการทำ HIA และการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA) ชุมชนเกิดความพอใจ เลยเริ่มดำเนินการได้
EIA ให้ผลลัพธ์ว่า เจ้าของโครงการ ต้องทำอะไรบ้าง มิให้กระทบต่อคุณภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ พืชหรือทำได้แต่สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมีค่าเปลี่ยนแปลงไปไม่เกินมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด ส่วน HIA ให้ผลลัพธ์ว่าเจ้าของโครงการต้องทำอะไรบ้างที่มิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพบุคคลและชุมชน…
HIA นี่เองจึงเป็นจุดกำเนิดของ Corporate Social Responsibility: CSR โรงงานที่ทำ HIA ในต่างประเทศถือเป็นสิ่งที่มีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และสามารถโฆษณาขายสินค้าตนเองในตลาดโลกได้เป็นอย่างดี หรือที่เรียกว่า Consumer Informed ในลักษณะ Green Label ทำให้ส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศที่กีดกันทางการค้ามาก ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
จะเห็นว่าในข่ายพลังงานมีหลายโครงการวิจัยสำคัญๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูน, เหมืองถ่านหินเวียงแหง, โรงไฟฟ้าแกลบ เป็นต้น