เมื่อพูดถึง Asset Management หลายๆ คนคงนึกถึงการนำเทคโนโลยีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาใช้ เช่น ระบบ ERP – Enterprise Resource Planning หรือเช่นพวก การสร้าง Digital Power Plant เป็นต้น แต่ยังมีอีกแบบที่น่าสนใจ ยาก แต่สามารถทำได้เลย สไตล์แบบนี้มักเห็นได้จากประเทศจีน หรืออินเดีย ที่เน้นแบบเห็นผล แต่ใช้งานได้จริง
ต้องขยายความที่ว่ายาก ก็เนื่องมาจากเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานนั่นเอง พูดอย่างง่ายคือทำให้คนทำงานทำด้วยใจ แบบ Happy Happy ลองดูตัวอย่างจากประเทศจีน ที่โรงไฟฟ้า Meiya Power Company (MPC) ที่มีโรงไฟฟ้าอยู่ 3 ประเภท คือ Thermal แบบใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง, พลังน้ำ, และ Combined Cycle ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ในประเทศจีน ไต้หวัน และเกาหลี
Asset Management แบบลงรายละเอียด ดังนี้
1.กำหนดหน้าที่ Asset Manager : ให้คำปรึกษาในทุก Function ที่มีโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อการทำให้ Efficiency ต่ำ
2.Daily Managment Decision ระหว่าง Financial Performance และ Operational Performance
3.Government Relationship ในแง่ Operational Regulations: ตรงกับ Trend ใหม่จากรัฐบาลเรื่อง Energy Efficiency, เพิ่ม Renewable Powerplant
4.มั่นใจว่าใช้เทคโนโลยีล่าสุด ซึ่งบุคลากรได้รับการอบรมอย่างดี และมีทัศนคติที่ดี ซึ่งต้องเริ่มจากการทำ Gap Analysis คือวิเคราะห์ศักยภาพก่อน
5. ต้องแยกจุดประสงค์ของแต่ละกลุ่ม และให้ผู้รับผิดชอบ (Asset Manager’s team) ให้ข้อเสนอแนะต่อ Asset Manager อย่างต่อเนื่องในประเด็นนั้นว่า ทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร ตัวอย่างกลุ่ม เช่น เพิ่ม Productivity, Better Performance , Staff Welfare, Environmental Considerations, HR practices
ซึ่งถ้าสามารถมีการปฏิบัติชัดเจนตั้งแต่สร้างโรงไฟฟ้าฯ ใหม่ เริ่ม COD-Commercial Operation Date ก็จะทำให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่มากขึ้น และ Asset Management ควรเริ่มจัดการจากส่วนย่อยก่อน แต่ให้คำนึงถึงภาพรวมเท่านั้น ย้ำคำนึงถึงภาพรวม เพราะถ้าดูภาพใหญ่เกินสำหรับองค์กรใหญ่ระดับประเทศจะรวมหมดทุกเรื่องในเรื่องของพลังงาน เช่น การลดข้อจำกัดด้านเชื้อเพลิง ซึ่งจะทำให้ไม่เห็นการเพิ่มศักยภาพของการทำ Asset Management เท่าที่ควร