คำจำกัดความเรื่อง“การปรับปรุงโรงไฟฟ้า”นี้ ได้ยินครั้งแรกๆ ในประเทศไทยสักเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ก็คงเป็นเพราะโรงไฟฟ้าเริ่มแก่ ต้องกินยาบำรุงกันหน่อย หรือเปลี่ยนอวัยวะภายในให้กระชุ่มกระชวย
[blog] นี้ได้ทดลองจับกลุ่มดู คงจะพอทำให้ไม่สับสน และจำกันได้ง่ายขึ้นน่ะคะ
รูปแรกนี้ก็เริ่มจากโรงไฟฟ้าใหม่เอี่ยมอ่องสีแดงสด ที่เพิ่งจะ COD (Commercial Operation Date) กันหมาดๆ ถัดไปก็สีเริ่มหม่นลงมาหน่อย เพราะผ่านการใช้งานมาสักระยะ เกิดอาการ เช่น Unbalance มากขึ้น, Blade กร่อนมากขึ้นก็นำไปสู่ประสิทธิภาพที่ต่ำลง, หรือ เมื่อเกิดการสึกกร่อนประเภท Wear ที่มากขึ้น ก็ทำให้เครื่องสั่น (Vibration) มากขึ้นด้วย เป็นต้น พอจะถูกปลด (Retirement) ก็ยิ่งซีดลงไปอีก
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยายขนาดค่ะ)
สำหรับกลุ่มคำเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็น Subset ของ Rejuvenation และความหมายโดยรวมคือ การปรับปรุงให้มีสภาพเหมือนเดิม ก็คือฟื้นสภาพแบบตอนใหม่ๆ นั่นเอง
ส่วน Renovation ก็เน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ นั่นคือ เมื่อเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ก็ทำให้การเดินเครื่องด้วยกำลังการผลิตเท่าเดิม ใช้เชื้อเพลิงน้อยลงนั่นเอง
Repowering เน้นการเพิ่มกำลังการผลิต หรือ MW เพื่อให้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้นด้วย (หน่วยการขายไฟฟ้า ที่เรียกกันว่า ต่อหน่วย = kilowatt-hour, kwh)
คำศัพท์ต่างด้านบนมักเป็นระดับโรงไฟฟ้า ส่วนเล็กลงมาในระดับอุปกรณ์มีอีก 2 คำที่มักพบบ่อยคือ
Replacement คือ การเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ซึ่งมีสภาพเหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเดิมก็ได้เข้าไปแทนของเดิม
Retrofit คือ การปรับปรุงอุปกรณ์ซึ่งมีการนำของใหม่ซึ่งทันสมัยกว่า หรือเป็นแบบใหม่เข้าไปใช้แทนของเก่า
ส่วนรายละเอียดที่ทำการปรับปรุงโรงไฟฟ้าที่ค่อนข้างจะเห็นภาพครบถ้วนนั้น สามารถ Click อ่านได้จากตัวอย่างนี้เพิ่มเติมได้เลยค่ะ