ASEAN Power Grid

โครงการ ASEAN Power Grid 14 interconnections Electricity
โครงการ ASEAN Power Grid 14 interconnections

จุดเริ่มต้นในปี 1997 โดยคณะรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของแต่ละประเทศได้ประชุมร่วมกันในการวางแผนการทำให้เกิด ASEAN POWER GRID (APG) ภายในปี 2015

ถัดมาปี 1999 ในการประชุม ASEAN Ministry of Energy Meeting (AMEM) ครั้งที่ 17th วางแผนในช่วงปี 1999-2004 โดยจัดตั้ง ASEAN Plan of Action Energy Cooperation (APAEC) ขึ้น แผนจึงได้ถูกดำเนินการต่อจนสำเร็จในปี 2003 โดย THE HEADS OF ASEAN POWER UTILITIES/AUTHORITIES (HAPUA) มีชื่อว่า ASEAN Interconnection Master Plan Study หรือ “AIMS”

AIMS ได้กำหนดให้ดำเนินการทั้งหมด 14 Interconnection projects ในกลุ่มประเทศ ASEAN ทั้งหมด ดังรายละเอียดจากตารางในรูป จนถึงปัจจุบันปี 2009 ได้ดำเนินการสำเร็จแล้วทั้งหมด 3 projects ด้วยกัน คือ Interconnection ระหว่าง No.1 Malaysia-Singapore, No.2 Thailand-Malaysia, และ No.14 Thailand-Cambodia ประเทศไทยได้รับการยกย่องในกลุ่มประเทศ ASEAN ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการผลักดันแผนนี้ให้สำเร็จ

ข้อจำกัด

ข้อจำกัดที่มีอยู่ในการเชื่อมโยง Interconnection ที่มีข้อจำกัดอย่างมาก คือ Project No.3 ซึ่งเชื่อมโยงจากมาเลเซียสู่ Sarawak ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนมหาศาลในเรื่องของการเดิน Sea Cable เป็นระยะทางยาวมากประเด็นนี้จึงเป็นความเสี่ยงต่อการลงทุนในประเทศมาเลเซีย และอยู่ระหว่างการศึกษาด้านเทคนิค ประกอบกับในปีที่ผ่านมาเป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจที่ถดถอย จึงทำให้การดำเนินการหยุดชะงักชั่วคราว อีกทั้งมีประเด็นเรื่องการเมืองที่ทำให้การเจรจายังไม่เป็นที่ยุติ เช่น ผู้ดูแล Grid ที่ West Kalimantan คือ SESCo ซึ่งไม่ใช่ TNB ผู้เจรจาในเวที ASEAN-HAPUA

APG Benefit

– เกิดข้อได้เปรียบทางเศรษฐศาสตร์ต่อระบบการผลิตและการจ่ายกระแสไฟฟ้า
– มีความเชื่อถือได้และความปลอดภัยในระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าของประเทศสมาชิก
– เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการแลกเปลี่ยนพลังงานในอนาคต
– เพื่อลดต้นทุนในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและ/หรือค่าใช้จ่ายในการ Operation ระหว่างประเทศสมาชิก

ทิศทางกลยุทธ์ของ APG 2010-2015

เป้าหมาย : ช่วยทำให้การดำเนินการของ AIMS ประสบผลสำเร็จ และทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในทุกประเด็น คือมาตรฐานด้านเทคนิค, วิธีการ Operation, และระเบียบข้อกำหนดต่างๆ
กลยุทธ์:
– พัฒนา APG ทุก Projects อย่างต่อเนื่อง
– ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาของ APG ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากรัฐบาลประเทศสมาชิก เพื่ออภิปรายทุกประเด็นปีละ 2 ครั้ง
– ปรับการดำเนินการด้านการผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่เดิม
– เชิญบริษัทหรือนักลงทุนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการผลิตฯ ที่ระบุใน APG
– ระบุประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา Interconnection

(source: ARSEPE2009 by Syaiful B Ibrahim, Secretary In Charge HAPUA)

ข้อมูลความคืบหน้า ASEAN Power Grid อัพเดท ม.ค.55 เพิ่มจำนวนโครงการสายส่งฯ เป็น 16 Interconnection อ้างอิงจาก siamintelligence unit