อยากมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานสะอาด ? MINI REC คือคำตอบ

         Mini Rec คืออะไร ? ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับ REC

ในหลาย ๆ ประเทศ ประชาชนสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาที่อยู่อาศัยและสำนักงาน เพื่อให้ทุกคนสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เองได้แม้แต่ในประเทศไทยก็เริ่มทำโซลาร์ฟาร์มเพื่อสะสมพลังงานเก็บไว้ใช้ภายหลัง อย่างไรก็ตามด้วยความที่เป็นพลังงานหมุนเวียนและมีความผันผวนของการได้รับพลังงานทำให้ มีคนที่สามารถสะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เกินความจำเป็น และมีคนที่อาจขาดแคลน ช่องว่างตรงนี้เอง ที่จะทำให้เกิดการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าขึ้น ซึ่งเรียกว่า Peer to Peer Energy Trading ที่เป็นระบบซื้อขายพลังงานระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนกับชุมชน หรือระหว่างประชาชนด้วยกันเอง

ซึ่งการผลิตพลังงานสะอาด สำหรับการ trade ดังกล่าว สามารถใช้เทคโนโลยี Blockchain โดยผู้ผลิตจะได้สิทธิ์ใน RECs (Renewable Energy Certificates) นั่นก็คือใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ที่ในปัจจุบันมีการซื้อ ขายทั้งแบบซื้อพลังงานสะอาดพร้อม RECs และการซื้อพลังงานแยกออกจาก RECs ก็ทำได้เช่นกัน

mini REC concept

ภาพรวมการซื้อขาย RECs

 จากข้อมูลกองบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก วงจรการซื้อขาย RECs จะประกอบไปด้วย

  • ผู้ซื้อ (Participant) 
  • ผู้ขาย (Registrant) 
  • ผู้ให้การรับรอง (Issuer)

ซึ่งผู้ให้การรับรองคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)  โดยปกติการซื้อขายพลังงานจะต้องขายที่ 1 MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC  เมื่อผู้ซื้อแจ้งความต้องการซื้อไปยังผู้ขายที่ได้รับการรับรองจาก กฟผ. จากนั้น กฟผ. จะต้องทำการตรวจสอบผู้ขายและส่งมอบ REC ที่ผ่านการรับรองแล้ว ให้ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อจะชำระค่า REC ตรงให้กับผู้ขาย  ซึ่งในการซื้อขายจะมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่น ๆ ที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ต้องรับผิดชอบในหลักหมื่นปลาย ๆ อาทิ ค่าขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้า ค่าต่ออายุการขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้า ค่าเปิด บัญชีซื้อขาย ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าธรรมเนียมการรับรอง REC และค่า Redemption   

mini RECs จะไม่จำกัดการซื้อขายพลังงานเฉพาะหน่วยงานอีกต่อไป

          จากข้อกำหนดดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ การซื้อขาย RECs จึงดูเหมือนจะเป็นธุรกิจที่มีผู้เล่นผูกขาดเพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้นดูจะห่างไกลจาก SMEs หรือประชาชนทั่วไป ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการซื้อขาย RECs ได้ แม้ว่า จะสามารถผลิตได้เอง อีกทั้งข้อจำกัดเรื่องปริมาณไฟฟ้าที่จะผลิตเพื่อซื้อขายกันนั้น หากมีจำนวนน้อยกว่า 1 MWh ก็จะยังไม่สามารถเข้าระบบการซื้อขายในปัจจุบันได้ ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเกินไป เมื่อเทียบกับปริมาณไฟฟ้าที่คาดว่าจะผลิตได้และทำการซื้อขายกัน ทำไมต้องสูญเสียมูลค่าของ RECs ในกลุ่มผู้ผลิต รายย่อยไปถึง 59% ของมูลค่า RECs ที่ผลิตได้ในประเทศไทย 

          บล็อคฟินท์ (Blockfint) ฟินเทคสตาร์ทอัพ ผู้เชี่ยวชาญการนำบล็อกเชนมาใช้งานในการคิดสร้าง ซอฟท์แวร์ระบบ ได้เล็งเห็นข้อจำกัดดังกล่าวในข้างต้น จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Gideon เพื่อตอบโจทย์การซื้อขาย RECs ให้กับผู้ซื้อขายรายย่อย เพื่อให้สามารถซื้อ RECs ได้ในหน่วยที่เล็กลง ที่เรียกว่า mini RECs โดยมีหน่วย 100 KwH =1 mini REC

          “สำหรับ mini REC เป็นมิติใหม่ในการซื้อขาย RECs สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย และประชาชนทั่วไป ที่สามารถผลิตพลังงานสะอาดที่ปกติจะต้องทิ้ง RECs จำนวนนี้ไปอย่างน่าเสียดาย เพราะมูลค่าไม่ถึง 1 MWh ถือว่าครั้งนี้เป็นการสร้างระบบนิเวศใหม่ที่จะเชื่อมโยงผู้บริโภค ผู้ขาย ผู้ซื้อ และพันธมิตร ให้เข้าถึงการซื้อขาย RECs ได้ง่ายขึ้น โดยเราใช้แพลตฟอร์ม Gideon เป็นเครื่องมือในการรวบรวม mini REC เพื่อให้สามารถซื้อ ขายได้ทั้ง RECs และ mini-RECs อีกทั้งเรายังมองว่า mini RECs ยังสามารถส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ หรือคนทั่วไป หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มได้อีก เช่น การใช้ mini-RECs แลกรับส่วนลดสำหรับผลิตภัณฑ์ จากบริษัทพันธมิตรที่ต้องการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในสังคมไทย 

          โอกาสการเกิดของ mini RECs จะเป็นได้จริงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการซื้อขาย และรวมถึงพันธมิตร ที่ต้องการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในประเทศไทย และพิจารณาโดยยึดประโยชน์ สูงสุด ที่ผู้ผลิตไฟรายย่อย และประชาชนจะได้รับจากการซื้อขาย mini RECs ซึ่งจะทำให้เกิดการตระหนักรู้ การใช้พลังงานสะอาด และส่งเสริมการใช้งานพลังงานสะอาดได้ถึงระดับประชาชนทั่วไปได้อย่างแน่นอน