เทคโนโลยีรถยนต์ ตลาดคาร์บอน

ตลาดซื้อขายใบอนุญาตต่อเทคโนโลยีรถยนต์
กรณียุโรปมีการใช้ตลาดคาร์บอน (Cap and Trade) ตั้งแต่ยุคปี 2005 (พ.ศ. 2548) ช่วงนั้นมีเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐ และมุ่งให้มีการปล่อยอย่างเต็มที่ รวมถึงเพิ่มขอบเขตการปล่อยขึ้นสูงมากเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างเทคโนโลยี นวัตกรรม ประหยัดการใช้เชื้อเพลิงดังรูป ซึ่งปลายทางได้ผลการลดก๊าซเรือนกระจก
จากกราฟนี้พบว่า รถยนต์เก่าเมื่อ 7 ปีก่อน ปล่อยมลพิษกว่ารถยนต์ที่ออกใหม่ในปัจจุบันมาก ตีความได้ว่าเทคโนโลยีมีการชิพ (Technology shifting) ช่วง 1985 และอีกครั้งในปี 2005 อันนี้น่าสนใจในแง่ประเทศไทยเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีเค้ามาใช้งาน

Screen Shot 2556-10-07 at 23.31.43

source: http://www.epa.gov/fueleconomy/fetrends/1975-2012/420r13001.pdf

ปัจจุบัน ระบบตลาดฯ ในหลายประเทศที่เริ่มแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ ดังนั้นปรากฏการณ์เดิมจะกลับมาคือ เทคโนโลยีที่ไทยซื้อจากเค้าก็มีแนวโน้มที่เทคโนโลยีนิ่งมากขึ้น กรณีแบบนี้ส่งผลให้รถยนต์ที่ขายให้กับประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มการปล่อยสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป นี้คือสิ่งที่บริหารจัดการโดยประเทศเราไม่ได้

แต่แสงสว่างที่ปลายทาง คือ ถ้าประเทศเรามีรถยนต์ยี่ห้อไทยแลนด์ พัฒนาโดยเราเอง เงินภาษีก้อนนี้ที่เก็บเข้ารัฐควรให้ผู้ผลิตรถยนต์ในการเปลี่ยน คิดค้น เทคโนโลยีประหยัดพลังงานแบบใหม่ หรืออย่างน้อยเงินก้อนนี้น่าจะเอาไปช่วยการก่อสร้างแมสทรานซิส (Mass transit) รถไฟรางคู่ หรือรถไฟฟ้ามหานครกันอย่างสมเหตุสมผลในภาคขนส่งต่อไป

วันนี้ได้มีโอกาสเยี่ยมชมบริษัท ซี เอส เอ็ม มอเตอร์ จำกัด คุณไพศาลผู้ริเริ่มการดัดแปลงรถยนต์จนเป็นรูปธรรม ได้ขับให้ทีมงานลองสัมผัสรถดัดแปลงพลังงานไฟฟ้า 100% ที่จดทะเบียนเป็นคันแรกของประเทศไทย ที่ทางการกำหนดลดภาษีรถยนต์จากการลด CO2 นอกจากการที่หน่วยงานราชการเห็นความสำคัญและทั้งนโยบาย มาตรการที่สามารถจูนเข้ากับความต้องการในประเทศของผู้ประกอบการ สะท้อนความถูกต้องของเทคโนโยลีควบคู่กับสิ่งแวดล้อมแล้ว ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการมีนวัตกรรมฝีมือคนไทยกันสักที