พม่า
เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่่จะสร้างที่ทวาย ประเทศพม่า อ.เดชรัต สุขกำเนิด share ไว้ในเว็บ decharut.blogspot.com
ลาว
เริ่มคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยบุรีที่ประเทศลาว ด้วยเรื่องที่ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจ สวนทางกับ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อ่านข่าว news.voicetv.co.th
เวียดนาม
อันนี้ซิของจริง! เวียดนามมาแบบมั่นใจมั่นคงยังบอกด้วยว่า เหตุการณ์ฟุกุชิมะที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นบทเรียนทำให้เวียดนามสร้างมาตรฐานสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ดียิ่งขึ้นอีก เวียดนามเดินหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ห่างจากประเทศไทยประมาณ 900 กม. เท่านั้น อ่านคอลัมน์ ASEAN Insight
ต่อด้วยเรื่องเกี่ยวกับเชื้อเพลิงกันบ้าง ที่จะมีผลต่อการนำเข้ามาสันดาปในประเทศไทยต่อ
กัมพูชา
สัดส่วนที่มาเลเซียทำสัญญาแหล่งก๊าซ JDA กับประเทศไทย อยู่ที่สัดส่วน 50:50 แต่กัมพูชาต่อไม่ลงสักที ต้องการ 80:20 ให้ไทย 20% เท่านั้น (อ้างอิง อ.มนูญ ศิริวรรณ) ทำให้ไทยอยู่ในภาวะต่อรองเครียดทีเดียว
มาเลเซีย
พูดกันถึงมาเลเซียกันแล้ว พูดต่อให้จบเลยว่า มาเลเซียไม่ยอมขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ให้ประเทศไทย แต่ขายเราเป็นพลังงานไฟฟ้าเลยได้ราคาดีกว่า
อินโดนีเซีย
ยังดีที่อินโดนีเซียยังขาย LNG ให้ไทย แม้จะลดลงจากที่คุยกันไว้ แต่เราก็ต้องซื้อ LNG จากอินโดนีเซียไปเรื่อยๆ เพราะนอกจากเค้าจะเป็นเจ้าใหญ่ในการส่งออก LNG แล้ว แผนพีดีพี rev.3 ของเรายังเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติตั้งเกือบเท่าตัวทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตาม เรายังคงสามารถซื้อ LNG เพิ่มได้จากประเทศการ์ตาร์ แม้ว่าจะต้องส่งทางเรือมาไกล แต่ประเทศการ์ตาร์นี้เป็นอันดับที่หนึ่งของประเทศส่งออก LNG ของโลก ยังไงก็ต้องเค้าละ (*☻-☻*)