ความคืบหน้าของโครงการกำจัดขยะชุมชนที่ได้จากนโยบายจากรัฐบาลล่าสุด ให้เข้าถึงทุกส่วนทุกพื้นที่ของประเทศไทยนั้น เห็นว่าทาง องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย – TGO เตรียมลงพื้นที่ วันนี้ก็เป็นอีกวันที่จัดให้กับเทศบาลจังหวัดเป็นครั้งที่ 2 แล้ว (ครั้งที่ 1 จัดในวันที่ 23 ธันวาคม 2552) ดูทุกทุกคนจะคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี สำหรับทีมงานผู้บรรยายก็ประกอบไปด้วย คุณวราภรณ์ คุณาวนากิจ จากกลุ่มงานวิชาการและวิจัยพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), คุณประเสริฐสุข จามรนาม รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และตัวแทนบริษัท Advance Energy Plus
กำจัดขยะชุมชน TGO Meeting : Technology
เนื้อหาสาระที่สำคัญก็คือ เทคโนโลยีที่เลือกใช้จัดการกับขยะมูลฝอยชุมชน มีทั้งหมด 2 แบบ คือแบบชีววิทยา (ฺBiological Conversion) และแบบทางความร้อน (Thermal Conversion) แถมผู้บรรยายยังบอกอีกว่าถ้าทำแบบทางความร้อนได้ค่ากระแสไฟฟ้า 6.1 บาท/kWh ได้ส่วนเพิ่มมากกว่าแบบชีววิทยาประเภทหมัก/หลุมฝังกลบขยะอีก 1 บาท/kwh (ที่ กฟผ. ผลิตเองได้ 1.70 บาท/kWh ไม่รวมค่า FT)
ข้อมูลปรับปรุงอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน แยกตามประเภทเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง และการปรับปรุงระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลัังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552
ด้านเทคโนโลยีไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือการรวมกลุ่มกันของเทศบาล รวมพื้นที่ หรือที่เรียกว่า Cluster เพื่อให้ได้ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 20,000 Tonne CO2eq ซึ่งเป็นปริมาณต่ำที่สุดที่ยอมให้ซื้อขายกันในตลาดคาร์บอน การคำนวณปริมาณขยะว่าต้องใช้เท่าไรจึงเพียงพอต่อการลดปริมาณ CO2 นั้นต้องเทียบว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซในกระบวนการกำจัดขยะที่ปล่อยออกมา 1 MW จะได้ 4,000 Tonne CO2eq ปริมาณขยะกี่ตันจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 MW ต้องดูจากประเภทขยะก่อนว่าเป็นประเภทไหน และใช้เทคโนโลยีอะไรที่เหมาะสมที่สุดกำจัดขยะ และเมื่อได้ก๊าซฯ ออกมาแล้วนำไปคูณเข้ากับ Emission Rate 0.58 ก็จะได้คำตอบคร่าวๆ ค่ะ
กำจัดขยะชุมชน TGO Meeting : Case Study และ CDM ฺีBundling Project
ส่วนในเรื่องของ Case Study และ CDM ฺีBundling Project ดูเหมือนว่าจะยังเป็นปัญหาในเรื่องการร่างสัญญาสิทธิสัมปทาน ระหว่างผู้ออกเงินกู้ กับเทศบาลนั่นเอง ว่าต้องมีการอุดรอยรั่วของสัญญามากแค่ไหน ธนาคารจึงปล่อยกู้ได้ และสิ่งที่ผู้ลงทุน บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ เห็นว่าเป็นขั้นตอนยากที่สุดก็คือ ระเบียบราชการเพื่อการเซ็นสัญญานั่นเอง สงสัยคงต้องมี Pilot Project มาสัก 1 โครงการ เจ้าหน้าที่เทศบาลต่างๆ คงจะสบายใจและเดินหน้าได้อย่างเต็มตัวแน่ๆ
ข้อมูลล่าสุดจาก ASEAN Development Bank ที่อนุมัติเงินสำหรับ 7 เทศบาลแล้ว ตอนนี้ปัญหาคือใครจะเริ่มก่อน โดยมีอุปสรรคบ้างเช่นว่า บางเทศบาลใช้พลังงานน้อยอยู่แล้ว แถมมีโครงการประหยัดช่วยชาติ มาอีกทำให้บางเทศบาลไม่รู้จะคิด Methodology ยังไงให้ประหยัดมากกว่านี้ และอีกอย่างที่สำคัญคือการเจรจาต่อรองกับนักลงทุนเจ้าของโครงการให้ชุมชนของเราได้ประโยชน์ด้วยนั่นเอง
เอกสารประกอบการสัมมนา download ได้ที่นี่ค่ะ