จาก Blog ที่แล้ว เรื่องการรณรงค์ปลูกป่าผ่าน Social Media ขององค์กรพลังงาน พบความแตกต่างของเทคนิคหรือลูกเล่นผ่านทาง Social Media…
อาจเป็นเพราะ ปตท. มีปุ่ม Facebook อยู่บนเว็บเพจจึงทำให้ click เดียวถึงเลย ทำให้มีคนติดใจ (people like) เยอะถึงเกือบ 35,000 คน
แถมวันนี้ ห่วงใย Fanpage เป็นพิเศษ (ว่าทำไมวันนี้เข้าไปรดน้ำไม่ได้เลย) หยุดให้บริการยังมีข้อความดีดีทิ้งท้าย
ทีมงานสั่งให้ฝนตกในช่วงเวลานี้แล้วค่ะ ต้นไม้ทุกต้นของทุกคนจะได้รับการรดน้ำอย่างทั่วถึง เพื่อนๆ ไม่ต้องห่วงว่าต้นไม้จะเฉาค่ะ “พบกันใหม่ในวันพรุ่งนี้ และเซอร์ไพรส์เล็กๆ น้อยๆ จากทีมงาน”
แต่พอมาดู กฟผ. กันบ้างก้อพบว่า Facebook Fanpage มีอยู่ไม่ถึง 1,500 คน
แต่ กฟผ. เองมีโครงการไปปลูกป่ากันจริงโดยมีการกำหนดสถานที่และจำนวนต้นที่จะปลูกไว้แล้วจึงแสดงเป็นจำนวนที่คนจองปลูกแล้ว กับที่เหลืออยู่ไว้แทน
ซึ่งแน่นอนย่อมแสดงให้เห็นพลังขับเคลื่อนของ Social Media ต่อจุดประสงค์ของโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่องค์กรต้องการ และเห็นผลจากกลุ่มตอบรับที่ชัดเจนขึ้น ทั้งยังแปรตามรูปแบบความเคลื่อนไหวที่ต้องการ เช่น ปตท. มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ลักษณะของ Animation ที่ใช้จึงเหมือนเลี้ยง ทามาก๊อตจิ สมัยก่อน ขณะที่ กฟผ. ปลูกแล้วปลูกเลยเสร็จเรียบร้อย ยังไงก้อตามน่าสนใจที่ทัังสององค์กรทุ่มกับ Social Media ได้มากขนาดนี้
ส่วนบน Twitter (กฟผ. on Twitter, ปตท. on Twitter) ลองวิเคราะห์กันดูตามบทความ
จำนวน follower ต่อความสัมพันธ์ด้านสังคมของผู้ใช้ twitter
เขียนโดย @iPattt