เห็นช่วงนี้มีำพนักงานน้องใหม่เข้ามาเยอะแยะ ทำให้อยากเผยแพร่วิดีโอชุดนี้ไว้เป็นเป็นผลิตภัณฑ์สอนงาน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่น่าเอาไว้ทำความเข้าใจว่า ชิ้นส่วนต่างๆ ของ Steam Turbine นั้นอยู่ตรงไหนประกอบกันเข้ายังไง หรือไม่ก็ พอเด็กๆ รุ่นใหม่ได้ดูคงทำให้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจเร็วขึ้นมากทีเดียว พอเข้าสู่ Site งาน ก็จะ Get ไอเดีย ได้เลย
ยกตัวอย่าง เด็กใหม่บริษัท GE เนี่ย เค้าลงทุนให้ไปอบรมที่ Workshop สำหรับ Training โดยเฉพาะ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอเมริกา เรียนกันถึง 5-6 เดือน ที่นี่มี Steam Turbine จริง (ที่ไม่ได้ใช้งานจริงน่ะค่ะ) แล้วให้ Field Engineer เรียนรู้การถอด-ประกอบจริง ก่อนออกสู่สนามจริง แล้วก็มักจะรับคนในท้องถิ่น มาอบรม ติวเข้ม แล้วส่งกลับโซนประเทศตัวเอง ถ้าเป็น Engineer ไทย ก็กลับมาทำงานโซนเอเชียกันเยอะ ส่วนบริษัทแม่ก็สนับสนุนโดยมีทีม Engineering ที่ประเทศอเมริกาเอาไว้ให้ข้อมูลในฐานข้อมูลของ GE
เนื่องจาก Steam Turbine Parts มีอยู่เยอะมาก ในนี้จะเห็นว่าแต่ละ Parts อยู่ตรงไหนของ Steam Turbine ว่ากันว่าในงาน Steam Turbine Outage แต่ละครั้งมีอยู่ แสน แสนรายการงานถอด-ประกอบ ทำกันเกือบเดือนหรือกว่านั้น งานแบบนี้ วิชา Project Management หรือพวก Critical Path Management คงใช้กันอย่างเต็มที่ทีเดียว แถมใน Animation ชุดนี้ยังได้ทำให้เห็นความมีระเบียบเรียบร้อยเป็นระบบของการจัดวาง Disassembly Parts อีกด้วย เป็นสิ่งซึ่ง Field Engineer ทุก Site งานจำเป็นต้องควบคุมกันอยู่ตลอดเวลา
ดูจบแล้วเหมือนงาน ถอด-ประกอบ สามารถทำกันอย่างง่ายดาย แต่พอมาเปรียบเทียบกับการทำงานจริงจากวิดีโอข้างล่างนี่สิ เห็นได้ชัดเลยว่าของจริงจะวางให้เป็นระบบ มันยากมากน่ะ ถ้าไม่ได้วางแผน วัด Layout ไว้ก่อน รู้ Dimension ชิ้นส่วนทั้งหมด และทำให้ทีมงานถอด-ประกอบเข้าใจตรงกันทั้งหมดก่อนเริ่มงาน ที่สำคัญ มีใจที่พร้อมจะทำให้งานสำเร็จและออกมาดี
นี่ถ้าบรรยากาศ ถอด-ประกอบ จริงมีเสียงเพลงแบบนี้ สงสัยจะมีคนเต้นกันทั้ง Floor Turbine แน่เลย 😀