เป้าหมายระยะยาวภายในปี 2050 การคาดการณ์ CO2 ที่จะเกิดขึ้นระหว่างปี 2000 ถึง 2050 มีปริมาณ 1 พันล้านนั้นถูกกำหนดให้ลดปริมาณลงเหลือ 25% เพื่อไม่ทำให้อุณหภูมิบรรยากาศสูงขึ้น
2 oC และประเทศกำลังพัฒนา อย่างเช่น จีนและอินเดีย ควรมีส่วนร่วมในการลด CO2 อย่างแน่นอน ซึ่งจะเห็นได้จากตารางด้านล่างที่ปริมาณ CO2 ที่ปล่อยจากทั้ง 2 ประเทศนี้สูงมาก
นอกจากนี้ เห็นได้ชัดว่าภายในปี 2050 นั้นการลดก๊าซ CO2 equivalent จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม Non-Annex 1 ถึง 23% นั่นคือ มีเพียงข้อตกลงในการช่วยกันลดก๊าซฯ ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น (Annex 1) จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

ได้มีการสรุปปริมาณ CO2 (t) per capita ดังตาราง จะเห็นว่าประเทศ Qatar มี ปริมาณ CO2 per capita ที่สูงมากถึง 79.3 tCO2 เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาเพียง 20.6 tCO2 แต่ต้องยอมรับว่ายังไม่มีข้อตกลงร่วมกันเรื่องมาตรการการลด CO2 ที่บังคับได้เลยจนกระทั่งปัจจุบัน
รูปด้านล่างแสดงปริมาณ Emissions จากการใช้ถ่านหิน และปริมาณสำรองของถ่านหินในประเทศ 10 อันดับแรกของการใช้ถ่านหินมากที่สุดในโลก ซึ่งย่อมเป็นกลุ่มที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษเมื่อการประชุม และผลของมาตรการฯ มีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ

(source : ARSEPE2009 by Hardiv Situmeang Saut M. Lubis)