ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs-Greenhouse Gases) ที่เกิดจากตัวเราหรือกิจกรรมใดใดเรียกว่า Carbon Footprint ที่ใช้ Carbon เป็นตัวแทนของ GHGs ก็เพื่อให้เรียกง่ายๆ และคิดเทียบว่า Gas ตัวนั้นๆ เป็นกี่เท่ากี่เท่าของ Carbon Dioxide หรือ Carbon Dioxide Equivalent นั่นเอง มีหน่วยเป็นตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (tCO2) ทีนี้ก็เลยลองคำนวณดูจาก Carbon Calculator
อย่างไรก็ตาม การจุดประกายความคิดนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากว่า ลองคิดกันดูดีดีเนี่ยไฟฟ้าถูกผลิตมาเพื่อให้ทุกคนใช้ นั่นคือ ผู้ใช้ปลายทางที่ได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง แถมยังมีการคำนวณ Carbon Footprint ที่แต่ละคนปล่อยออกมาให้ดูอีกเหมือนกับจะเป็นการบอกใบ้ว่า ผู้ใช้้ไฟฟ้าย่อมมีสัดส่วนมากน้อยในการปล่อย Carbon จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันนั่นเอง ดังนั้น ถ้าเรื่อง Carbon Tax จะถูกนำมาใช้ในอนาคต อย่างงี้บริษัทผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในประเทศขายไฟอย่างเสรีก็คิดง่ายๆ คือ บวกเข้าไปกับค่าไฟที่ประชาชนจ่าย หรือในทางกลับกันถ้าลดการใช้ไฟฟ้าได้รัฐบาลก็ช่วยลดภาษีไห้ เช่น PG&E-Pacific Gas and Electric Company ผู้จำหน่ายไฟ้ฟ้าและ Natural Gas รายใหญ่ฝั่ง California ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รณรงค์โครงการประหยัดไฟฟ้าจากครัวเรือนตั้งแต่ปี 2550 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อลูกค้าประหยัดไฟฟ้าได้จากที่ใช้จริง จะสามารถนำไปลดภาษีได้ตั้ง US$5 ต่อเดือน (2,000 กว่าบาทต่อปี) หลายๆ บริษัทในอุตสาหกรรมอื่นทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็น British Airways ที่รณรงค์โครงการภายใ้ต้ชื่อ Voluntary Passenger Carbon Offsetting มาตั้งแต่ปี 2548 หรือการบริจาคเพื่อปลูกป่าในออสเตรเลียเพื่อดูดซับ Carbon ที่เราปล่อยออกมา
แต่ที่น่าคิดไปกว่านั้นคือถ้าประเทศไหนผลิตไฟฟ้าแบบ Monopoly และผลิตเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ค่าใช้จ่าย ค่าชดเชยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมจะตกเป็นภาระของใคร อันนี้ัรัฐบาลคงต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุมซะแล้ว+++