Smart Grid อีกทางเลือกของ Energy Efficiency

วิดีโอนี้อธิบายคำว่า “Smart Grid” ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

…สัดส่วนการใช้พลังงานของการผลิตไฟฟ้าประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 40% ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ ประกอบกับการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นถึง 30% ก่อนปี ค.ศ. 2020 อย่างแน่นอน

Smart Grid ต้องอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้าน Automatic Metering Infrastructure, System Control and Automation โดยพนักงานควบคุมสามารถดูปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าของแต่ละบ้านได้ตลอดเวลา

ตัวอย่าง ที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานลมต้องอยู่กลางประเทศ แต่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยส่วนใหญ่อยู่ห่างออกไปในเมืองหลวงหรือเขตอุตสาหกรรม Smart Grid เป็นสิ่งช่วยสะสมพลังงานที่เกิดขึ้น และส่งต่อไปยังประชาชนตามบ้านเรือนแถบที่ตั้งโรงไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าได้โดยตัด Loss ในระบบส่งออกไป

อีกทั้ง ถ้าเจ้าของบ้านปลูกบ้านแบบ Green home ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซล์ลไว้บนหลังคา ก็ยังสามารถเลือกที่จะใช้ไฟฟ้าตอนกลางคืน และขายกระแสไฟฟ้าที่เหลือนั้นคืนกลับมาระบบในช่วงพีคโหลดตอนกลางวันที่ค่าไฟฟ้าแพงกว่าได้อีก…

มีการกล่าวถึงในเว็บไซต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ไว้ด้วยว่า การมุ่งสู่ Smart Grid คือการมุ่งสู่ Smart Community ด้วยส่วนหนึ่ง ซึ่งก็คือ สังคมที่คนสามารถติดต่อสื่อสารอย่างอิสระผ่านสื่อออนไลน์ (Social Network) และคนเหล่านี้ยังรู้ถึงที่มาที่ไปของกระแสไฟฟ้าที่มาถึงมือ ว่าใช้เชื้อเพลิงอะไร ส่งมาจากต้นทางที่ใด พอมาถึงมือแล้วเกิด Loss ในระบบไปเท่าไร ต้นทุนการผลิตจะเป็นเท่าไร (ในอนาคตอาจถึงระดับ Life Cycle Cost กันเลยทีเดียว)

คนจึงสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดว่า จะเลือกเชื้อเพลิงที่มี CO2 ต่ำลงดีไม้ เช่น พวกเชื้อเพลิง Renewable ถ้าพอจะจ่ายได้ เพื่อบรรเทาโลกร้อนไปได้อีกหน่อย

ที่สำคัญในแง่ของ Energy Efficiency ทั้งด้าน ผู้ผลิต (Supply Side) และด้านผู้ใช้ไฟฟ้า (Demand Side) ถ้าคนรู้ชัดเจนว่า พีคโหลดกำลังจะต้องทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าต้องเลือกเดินเครื่องน้ำมันเตาเสริมระบบขึ้นมาอีกโรง สังคมของคนฉลาด หรือ Smart Community ก็สามารถช่วยกันรณรงค์หยุดใช้ไฟฟ้าช่วงเวลานั้น ไปใช้ช่วงอื่นได้ ซึ่งช่วยประหยัดเชื้อเพลิงฟอสซิลราคาสูงได้ อีกทั้งช่วยผู้ผลิตไม่ต้องวางแผนสำรองกำลังผลิตจนมากเกินไป

smart Grid energythai.com
Smart Grid, ขอบคุณภาพจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)