ความสำคัญของเขื่อน : ช่วยกู้ระบบไฟฟ้าประเทศไทย (Black Start)

Blackout at Northeast America August 14, 2003
ตัวอย่าง พื้นที่เหตุการณ์ Blackout บริเวณนิวอิงแลนด์ ,
14 สิงหาคม 2546 (ภาพจาก modernsurvivalonline.com)

การกู้ระบบไฟฟ้า หมายถึง การเดินเครื่องขึ้นมาในสภาวะที่ไม่มีไฟฟ้าใช้งาน อาจจะใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ดีเซล หรือพลังงานจากน้ำมาเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แล้วใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าต่อไป Black Start จะได้เห็นเมื่อเกิดเหตุการณ์ Blackout ขึ้นในระบบ

การกู้ระบบไฟฟ้าที่ดับเป็นบริเวณกว้างหลายจังหวัดต่อเนื่องกัน เรียกศัพท์เทคนิคว่า “Black Start” และวิกฤตการณ์ที่เกิดไฟฟ้าดับวงกว้างนั้น เรียกว่า “Black out

ปีนี้เกิดวิกฤติการณ์ที่เราคาดไม่ถึงหลายอย่าง ตั้งแต่สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จนถึงมหึมาน้ำท่วมในประเทศไทยที่กำลังเผชิญกันทุกวันนี้ จากผลของทั้งสองวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับสองประเทศนี้ ส่งผลกระทบกับการผลิตและจ่ายไฟฟ้าทั้งรุนแรงและบางส่วน

Blog นี้ได้กล่าวถึงวิกฤตการณ์ซีเรียสอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถเกิดกับระบบกำลังไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้คนไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้านานมากๆ แน่นอนที่จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของคนอย่างรุนแรงมาก วิกฤตการณ์ที่ว่านี้คือการเกิดไฟฟ้าดับเป็นพื้นที่หลายจังหวัดติดต่อกัน ที่เรียกว่า “Blackout” และในกระบวนการที่ช่วยกู้ระบบไฟฟ้ากลับขึ้นมาได้เรียก “Black Start” ซึ่งส่วนหนึ่งต้องใช้โรงไฟฟ้าเขื่อนนี่เองค่ะ ช่วยทำให้การกู้ระบบไฟฟ้ากลับคืนมาด้วยความรวดเร็ว นั่นหมายถึงความมั่นคงของทั้งระบบไฟฟ้าของประเทศไทยทีเดียว

Black Start

Black Start คือ การเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าด้วยตัวเอง เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าไปจ่ายให้โรงไฟฟ้าอื่นซึ่งไม่สามารถ Black Start ตัวเองได้ แล้วจึงค่อยทยอยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบหลักของระบบจำหน่าย เพื่อส่งต่อไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า การ Black Start เป็นขั้นตอนหนึ่งในแผนการนำระบบไฟฟ้ากลับคืนสู่ภาวะปกติ (Blackout Restoration Plan)

สำหรับขั้นตอนการกู้ระบบไฟฟ้านั้นต้องมีการปรับปรุง ซ้อมกันต่อเนื่องทุกปี สำหรับขั้นตอนการกู้ระบบไฟฟ้าลองอ่านจาก blog นี้เข้าใจง่ายดีค่ะ

1. เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับทั่วประเทศขึ้น กฟผ. ก็จะทำการ Black Start โรงไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ ที่มีการจัดแบ่งไว้
3. จ่ายไฟไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงผ่านสายส่งในแต่ละพื้นที่
4. ในช่วงแรก ไฟฟ้าที่ได้จากการ Black Start จะจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าที่ไม่สามารถ Black Start ได้ก่อน และที่เหลืออีกประมาณ 20%-30% จะจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
5. เชื่อมโยงระบบไฟฟ้าแต่ละพื้นที่เข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความมั่นคง
6. ทยอยจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดจนครบ 100%
อ่านลิงค์นี้แบบลงรายละเอียดขั้นตอน Black Start ที่อเมริกาเมื่อปี 2546

จากภาพยนตร์โฆษณานี้ จะเห็นได้ชัดว่ามีการ Startup โรงไฟฟ้าเขื่อน และโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซเครื่องดีเซลขึ้นมาเพื่อทำการ Black Start ได้ทันทีทันใด

เหตุผลที่เขื่อน Startup ได้รวดเร็วจึงถูกกำหนดให้กู้ระบบไฟฟ้า

กฟผ. ได้แบ่งพื้นที่เพื่อทำการ Black Start โรงไฟฟ้า โดยมีศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าอยู่ 5 แห่ง คือ ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าเขตนครหลวง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ทั้งนี้มีศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ จะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการประสานงานกับศูนย์ควบคุมทั้ง 5 แห่ง และควบคุมสั่งการระบบผลิตไฟฟ้าของทั้งประเทศ พร้อมทั้งดูแลและจัดการระบบส่งที่มีระดับแรงดันสูงตั้งแต่ 230 กิโลโวลต์ขึ้นไป
โดยศูนย์ควบคุมในแต่ละภาคจะได้กำหนดโรงไฟฟ้าที่จะเป็นตัว Black Start ไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เนื่องจากสามารถทำการ Black Start ได้เร็ว ใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที หรือโรงไฟฟ้ากังหันแก๊สบางแห่งที่มี Black Start Diesel


ตัวอย่าง
เมื่อปี 2552 ได้จำลองเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่ จ. นครสวรรค์ โรงไฟฟ้าที่เป็นตัว Black Start ขึ้นมาก็คือโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลนั่นเอง

“ผู้รับผิดชอบเขื่อน มาพร้อมกับภารกิจในการรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศไทย”

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วที่อเมริกาเมื่อปี 2546:
ถ้าเป็นกรณีซีเรียสมากๆ แบบข่าวใหญ่ที่อเมริกันกว่า 50 ล้านคนได้รับผลกระทบนั้นที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2546 นี้เอง ครอบคลุมพื้นที่แสดงใน Map นานกว่า 24 ชั่วโมงทีเดียว ลองอ่านลิงค์นี้ดูจะพบว่า ฝรั่งเค้าก็ไม่บูรณาการเหมือนกันนะ 🙂

Blog ก่อนหน้านี้:
* Blackout Benchmark ของประเทศไทย
* To protect Blackout in Thailand