ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(2): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

ต่อจาก Blog ที่แล้วที่ว่าเขื่อน 2 เขื่อนเสี่ยงที่กาญจนบุรีมีสัดส่วนการผลิต 1 ใน 3 ของเขื่อนทั้งหมด ในขณะที่เตรียมกำลังผลิตสำรองจากเขื่อนไว้ 3 เท่าตัว พิจารณาประเด็นสำคัญกันต่อ

เขื่อนตอบสนองพีคโลด

การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำจากเขื่อนนั้น ช่วงที่จะผลิตได้ คือ ช่วงตอบสนองพีคโลด หรือ Peak Load นั่นเอง เพราะบ้านเรามีเขื่อนไว้เดินตอน Peak Load ไม่ได้เดินเป็น Base Load อย่างประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย
ส่วนช่วงเวลาพีค คือ ช่วงเวลา 10 โมงเช้าถึงเวลาเลิกงาน และพีคอีกครั้งคือ 2 ทุ่ม ดังภาพอ้างอิงจาก eppo.go.th

ความต้องการไฟฟ้าของผู้ใช้ทุกกลุ่มใน 1 วัน ช่วงเวลาพีค Peak Time EGAT Thailand
ช่วงเวลาพีคของประเทศไทย

ความหมาย Peak Load

จากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ อธิบาย พีคโลด หรือ peak load ไว้ว่า โดยปกติแล้ว เราทุกคนใช้ไฟฟ้าไม่ตลอดเวลา ตอนกลางคืนหลังจากเข้านอนแล้ว บ้านที่ไม่ใช้เครื่องปรับอากาศก็แทบจะไม่ได้ใช้ไฟ ยกเว้นจะเปิดพัดลมตอนหน้าร้อน ส่วนในช่วงกลางวันเมื่อออกจากบ้านไปแล้วเราก็ไม่ได้ใช้ไฟในบ้าน ไปใช้ไฟที่ที่ทำงานแทน ซึ่งต่างกับโรงงานที่ใช้ไฟเกือบตลอดเวลา เพราะมีการทำงานวันละ 3 กะ หรือตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่บางโรงงานเหลือเพียงกะเดียว

ดังนั้นปริมาณการใช้ไฟของทั้งประเทศจึงไม่ได้คงที่ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงของแต่ละวัน จะมีสูงบ้างต่ำบ้างแล้วแต่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการใช้สูงสุดนี้แหละที่ช่างเขาเรียกว่า พีคโลด

ภาพถัดมาแสดงปริมาณพลังไฟฟ้าสูงสุดของ กฟผ. เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของ กฟผ. 2552-53 Peak Demand of EGAT Thailand 2009-10
ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของ กฟผ. 2552-53

ถ้าเขื่อนแตกจะเกิดอะไรขึ้น

ผลกระทบในเรื่องนี้ที่เกิดขึ้นจะมากน้อยแค่ไหน พอมาดู Scenario แบบเขื่อนศรีนครินทร์แตก ดังภาพจำลอง

ภาพจำลองกรณีเขื่อนศรีนครินทร์แตก
ภาพจำลองกรณีเขื่อนศรีนครินทร์แตก

พิจารณาร่วมกับลักษณะพีค

พบว่า นอกจากที่จะมาถึงภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงครอบคลุมหลายจังหวัดแล้วนั้น จังหวัดที่ท่วมประชาชนอาจไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้หลายวันทีเดียว แม้ว่า ไฟฟ้าจะมีใช้จ่อปลาย Grid ก็ตามเพราะน้ำสูงจนถึงหลังคาบ้าน เหตุการณ์ ณ ตอนน้ำท่วมเมื่อพิจารณากับลักษณะของพีค มีสิ่งที่น่าสนใจคือ

+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. ปริมาณพีคคงไม่สูงสุด
+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเวลาพีค ปริมาณพีคก็ไม่สูงสุดเช่นกัน แต่กรณีนี้แต่ละพื้นที่เวลาน้ำขึ้นไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาละเอียดนิดนึง
+ ถ้าไม่ต้องให้ 2 เขื่อนเสี่ยงช่วย (1/3 ของทุกเขื่อน) โดยเตรียมเขื่อนอื่นไว้ผลิตไฟฟ้าเอง ก็ยังเพียงพออยู่จากปริมาณสำรองของเขื่อน 3 เท่าตัว
+ มีเขื่อนที่ประเทศลาวทำสัญญาซื้อไฟไว้ 6.6% ของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทย ในปี 54 เทียบกับเขื่อนในไทยเพียง 3.6% ในปีเดียวกัน แถมการจัดการยังอยู่ในมือเราที่เตรียมการวักน้ำเอาไว้ในเขื่อนเค้าก่อน เวลาต้องการก็ค่อยปล่อยน้ำได้อีก
+แล้วถ้าจะรู้ว่าจังหวัดไหนจะน้ำท่วม รัฐบาลสามารถออกมาบอกให้ร่วมมือกันลดพีคด้วยการประหยัดพร้อมกันทั่วประเทศได้ไม้ เราคงต้องช่วยกันอยู่แล้ว ช่วยก่อนน้ำท่วม ดีเสียกว่าจะไปช่วยหลังน้ำท่วมกันอย่างเดียว

ดังนั้นจาก 2 เขื่อน คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ถ้ายอมปล่อยน้ำไม่ผลิตไฟฟ้าย่อมปลอดภัยต่อประชาชนอยู่แล้ว แต่ความรุนแรงอาจมากจนทำให้ กระทบต่อโครงสร้างเขื่อนเอง ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ไม่สามารถควบคุมได้

เรื่องนี้ ถ้าตัดสินใจช้า เช่น ปล่อยน้ำช้าเกิน ก็คงพาดหัวข่าวค่ะ ว่า “กฟผ. ไม่ยอมปล่อยน้ำเขื่อนพังน้ำท่วมประชาชนเดือดร้อน” ประมาณนี้ ดังนั้น เป็นความท้าทายของผู้บริหารอีกแล้วว่าทันต่อสถานการณ์หรือเปล่า

ได้สรุปแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนี้ค่ะ

+ แผนการระบายน้ำในช่วงแล้ง

+รายงานสภาพน้ำ ระดับน้ำ รายวัน โดยลิงค์ข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาไว้ด้วย
อีกลิงค์ได้จาก Twitter คุณ @MrVop :ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆทั่วไทย http://j.mp/cB6vxr #Thaiflood
ซึ่งรวมทั้งเขื่อน กฟผ.(ข้อมูลเหมือนลิงค์บน) และเขื่อนของกรมชลประทานด้วยคะ ขอบคุณคะ

+สถานการณ์น้ำอัพเดทตลอด 24 ชั่วโมง

+ะดับน้ำกักเก็บสูงสุด และปัจจุบันทุกเขื่อนทุกวัน

+มีการติดตั้งเครื่องมือวัด พฤติกรรมเขื่อน,เครื่องมือวัดแผ่นดินไหว (Siesmograph) ที่มีหน่วยเป็นริกเตอร์, และเครื่องวัดอัตราเร่ง (Accelerograph)

+ปริมาณน้ำฝนคาดการณ์ 7 วันล่วงหน้า (ขอบคุณ @MrVop สำหรับลิงค์นี้คะ)